Template Manager

วันนี้เว็บไซต์ PrettyHD จะมาอัพเดทบทความเกี่ยวกับ อัพเดทเรื่อง joomla Template Manager วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งมีเนื้อหามีดังนี้

การจัดการเทมเพลต หรือ Template Manager ก็จัดได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของ Extension แต่เทมเพลตเองเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้หน้าเว็บไซต์ของเราดูสวยงาม แปลกตา หรือ มีตำแหน่งในการจัดวาง Module ต่าง ๆ ได้มากหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบเทมเพลต แต่บทความนี้ไม่ได้สอนการสร้างเทมเพลต แต่จะสอนให้ทราบเกี่ยวกับการจัดการ และการแก้ไขเทมเพลตเบื้องต้น
เทมเพลตนั้นสามารถติดตั้งได้ทาง Extensions > Install/Uninstall ได้เหมือนกับ Extension ทั่วไป โดยเมื่อติดตั้งเสร็จแล้วจะสามารถจัดการผ่านได้ทางเมนู Extensions > Template Manager

เมื่อเข้ามาแล้วหากมีเทมเพลตหลายแบบ วิธีสังเกตว่าเทมเพลตใดถูกเลือกใช้งานอยู่ให้ดูที่คอลัมน์ Default ที่มีสัญลักษณ์ดาวสีเหลืองกำกับอยู่ นั่นแสดงว่าเทมเพลตนี้ถูกตั้งค่าให้ใช้งาน หากต้องการเปลี่ยนการใช้งานเป็นเทมเพลตอื่น ก็ให้เลือก Radio Box ข้างหน้าชื่อเทมเพลตแล้วกดปุ่ม Default เราก็จะสามารถเปลี่ยนการใช้งานเทมเพลตได้อย่างง่าย ๆ
หากต้องการเข้าไปปรับเปลี่ยน แก้ไข หรือดูแบบของเทมเพลต ก็ให้คลิกที่ชื่อเทมเพลตนั้นได้เลย
ส่วนมาก เทมเพลตที่แจกให้โหลดฟรี ๆ นั้น จะมีพารามิเตอร์ให้ปรับแต่งกันไม่มาก เว้นแต่เทมเพลตที่ขายกัน จะมีให้ปรับแต่งพารามิเตอร์กันปวดหัวเลยทีเดียว ตัวอย่างที่เห็นนี้ก็คงมีแค่การปรับสีต่าง ๆ ของเทมเพลตในเบื้องต้นเท่านั้น ลองกดปุ่ม Preview ดูซักหน่อย
จะเป็นการ Preview เทมเพลตในมุมมอง Layout ซึ่งจะมองเห็นตำแหน่ง Position ของ Module ให้เห็นเป็นเส้นกรอบสีแดงจาง ๆ ว่าเทมเพลตนี้ เราสามารถวางตำแหน่งโมดูลได้ตรงไหนบ้าง ซึ่งแต่ละเทมเพลตก็จะมีจำนวน Position Module ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับการออกแบบ ซึ่งจุดนี้เราสามารถแก้ไข ปรับแต่งเองก็ได้นะ
ลองมาดูที่เมนู Edit HTML กันบ้าง
เมนูนี้สำหรับการแก้ไขไฟล์ index.php ซึ่งจะอยู่ในตำแหน่งไดเร็คทอรี่ /templates/ชื่อเทมเพลต/index.php เหมือนกันหมดทุกเทมเพลต เหมาะสำหรับผู้ที่มีความรู้ด้านการแก้ไข Source Code เท่านั้น เพราะหากเกิดความผิดพลาด การแสดงผลหน้าเว็บไซต์ของเราก็จะผิดเพี้ยนตามไปด้วย
เมนู Edit CSS สำหรับแก้ไขไฟล์ควบคุมสไตล์การแสดงผลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นขนาดตัวอักษร สีตัวอักษร สีเส้น ระยะห่าง การวาง Layout การแทรกรูปภาพพื้นหลัง สีพื้นหลัง ฯลฯ ซึ่งเหล่านี้ล้วนเรียกว่า Style Sheet ซึ่งจะเป็นไฟล์นามสกุล .CSS โดยต้องใช้ความรู้ในการเขียน CSS และภาษา HTML เช่นเดียวกัน จึงจะสามารถแก้ไขได้
สมมติว่า ผมต้องการจะแก้ไขไฟล์ภาพโลโก้ของ Joomla ในเทมเพลตเดิม
ด้วยประสบการณ์ ผมก็จะทราบว่า ผมจะต้องไปค้นหาตำแหน่งที่ไฟล์ template.css ซึ่งอยู่ในไดเร็คทอรี่ /template/rhuk_milkyway/css/
ผมก็จะพบกับ Path ของไฟล์รูปภาพโลโก้ของ Joomla ซึ่งก็จะสามารถแก้ไขรูปภาพได้ตามต้องการ
เทมเพลตนั้นไม่ใช่ว่าจะกำหนดให้ใช้ได้เพียงครั้งละ 1 เทมเพลตเท่านั้น รู้บ้างไหมครับ เราสามารถกำหนดการใช้งานเทมเพลตของเว็บไซต์เราได้หลายเทมเพลตในครั้งเดียวด้วยนะ ประมาณว่าคลิกลิ้งค์นี้ ก็ให้แสดงเทมเพลตรูปแบบ A หรือคลิกอีกลิ้งค์นึง ก็ให้แสดงเทมเพลตรูปแบบ B เป็นต้น ลองไปดูกันครับว่าทำอย่างไร
จากภาพจะเห็นว่า มีเทมเพลตใหม่ที่ได้ติดตั้งลงไป ชื่อว่า siteground-j15-148 ผมจะคลิกเข้าไปที่เทมเพลตนี้
จะพบกับ Menu Assignment ซึ่งเป็นการระบุว่า จะให้เทมเพลตนี้ แสดงในเมนูลิ้งค์ใด ตอนนี้ผมกำหนดว่า ถ้าคลิกที่เมนู “ลิ้งค์ 1” และ “ลิ้งค์ 2” ให้แสดงเทมเพลต siteground-j15-148 ออกมา ส่วนลิ้งค์อื่น ๆ ก็ให้แสดงเทมเพลตแบบเดิม
เทมเพลตยังเป็นรูปแบบเดิมอยู่ ผมจะคลิก “ลิ้งค์ 1” เพื่อให้เทมเพลตเปลี่ยนไป
เทมพลตเปลี่ยนไปเมื่อคลิก “ลิ้งค์ 1” หรือ “ลิ้งค์ 2” ตามที่ได้กำหนดไว้ใน Menu Assignment
จะพบว่า มีเครื่องหมาย “ถูก” สีเขียวกำกับอยู่ในคอลัมน์ Assigned
ซึ่งเราสามารถใช้วิธีนี้ในการแสดงผลรูปแบบแต่ละหน้าที่เปลี่ยนไปได้ไม่ซ้ำกัน แต่อย่าลืมว่า ต้องคำนึงถึงตำแหน่ง Position Module ด้วยนะครับ เพราะเมื่อมีการเปลี่ยนเทมเพลตไปแล้ว โมดูลของเราก็อาจจะอยู่ผิดที่ผิดตำแหน่งไป ซึ่งจะทำให้การแสดงผลไม่สวยงามเหมือนที่เราได้กำหนดไว้

 

หากต้องการทราบการอัพเดทของ joomla Template Manager และเรื่องที่เกี่ยวข้อง แนะนำให้กด ที่ facebook ด้านล่างนี้เลยค่ะ เผื่อที่จะได้อัพเดทก่อนใคร

อัพเดทเมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556 ในหมวดหมู่ของ joomla เรื่อง joomla Template Manager