ยุทธศาสตร์ของบริษัทเจริญโภคภัณฑ์

วันนี้เว็บไซต์ PrettyHD จะมาอัพเดทบทความเกี่ยวกับ อัพเดทเรื่อง การบ้าน ยุทธศาสตร์ของบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ วันเสาร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ซึ่งมีเนื้อหามีดังนี้

ยุทธศาสตร์ของบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ “เราจะเพิ่มช่องทางขยายตลาดให้ครอบคลุมทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันทั้ง CP Fresh Mart, CP Food Market, MT และจุดขายอื่นๆ มีเปิดกระจายอยู่ทั่วโลกรวมกว่า 10,000 จุดแล้ว”  ซีพีเอฟทุ่มงบไม่น้อยเพื่อสร้างแบรนด์ให้เกิดขึ้น ด้วยวิสัยทัศน์ในการสร้างแบรนด์ซีพีเป็น “ครัวของโลก” หรือ “Kitchen of the World” และทำให้ซีพีเป็นแบรนด์ top of mind คือ อยู่ในใจผู้บริโภคเป็นอันดับแรก ซึ่งซีพีเอฟเชื่อว่าการก้าวไปเป็นครัวโลกได้ต้องมุ่งไปที่สินค้าสำเร็จรูปและการสร้างแบรนด์ และอาหารสำเร็จรูปติดแบรนด์

ยุทธศาสตร์ระบบมาตรฐาน เพื่อเพิ่มจำนวนฟาร์มมาตรฐานจีเอพี ที่ได้รับการรับรองให้มากขึ้น ภายใต้โครงการฟาร์มมาตรฐานระบบกลุ่มครอบคลุมสินค้าพืช ปศุสัตว์และประมง
ยุทธศาสตร์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์และตลาดสินค้าคุณภาพ มุ่งแก้ไขปัญหาคุณภาพ มาตรฐาน การแปรรูป ตลอดจนรับรองด้านตลาดหรือแหล่งจำหน่ายสินค้าที่ผ่านการรับรองมาตรฐานหรือสินค้า Q เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตและขยายช่องทางจำหน่ายสินค้า

ยุทธศาสตร์สร้างความมั่นใจในมาตรฐานสินค้าเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารของ เจริญโภคภัณฑ์อาหาร  มุ่งพัฒนาระบบการผลิตและการควบคุมคุณภาพมาตรฐาน และระบบการตามสอบหรือระบบตรวจสอบย้อนกลับอย่างแพร่หลายมากขึ้นเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศ

    ยุทธศาสตร์มาตรฐานความปลอดภัยสินค้าเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารของ เจริญโภคภัณฑ์อาหาร  จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการสร้างความมั่นคงด้านอาหารทั้งการมีอาหารอย่างเพียงพอและมีมาตรฐานความปลอดภัย อันนำไปสู่การสร้างความเชื่อมั่นและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับสินค้า พร้อมเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก และเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยผลักดันส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารของบริษัทเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต.

ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการกำหนดแผนและการดำเนินยุทธศาสตร์การตลาดของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้แก่


  • ข้อมูลที่ทันเหตุการณ์ และวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล
  • บุคลากรที่คิดเป็น มีคุณภาพด้านการปฏิบัติและการแก้ปัญหา
  • ระบบการบริหารจัดการ


ขั้นตอนของการกำหนดกลยุทธ์ยุทธศาสตร์การตลาดเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการวางแผน  ในที่นี้ เป็นการวิเคราะห์ประเทศไทย โดยใช้เครื่องมือ SWOT  ภายใต้หลักคิดที่ CP ยึดถือ
หลักคิด


  1. ใช้ยุทธศาสตร์ในการทำสงครามของ “ซุนวู” จากเรื่อง “สามก๊ก” ได้แก่  “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง”
  2. ใช้แนวทาง “เถ้าแก่น้อย”

การวิเคราะห์ SWOT ของประเทศไทย

1. จุดแข็ง
ด้านสังคม

  • ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ดินฟ้า อากาศ สภาพแวดล้อมเหมาะแก่การทำการเกษตร
  • กสิกรรมอยู่ในสายเลือดของคนไทย นิสัยคนไทยเป็นชาวพุทธรู้จักให้อภัย มีหลักยึดมั่นในสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นที่รวมศูนย์จิตใจคนไทย
  • ด้านเศรษฐกิจ
  • ที่ตั้งของประเทศไทย ใกล้ตลาดสำคัญของโลก ได้แก่ จีน อินเดีย ฯลฯ มีทางออกสู่ตลาดโลกในภูมิภาคต่าง ๆ

2. จุดอ่อน
ปัญหาด้านการผลิต

  • ขาดวิชาการและเทคโนโลยีในประเด็นของความครบถ้วนทั้งวงจร เช่นเปลี่ยนเกษตรกรรมในเชิงเกษตรผสมผสานไปสู่พืชเชิงเดี่ยว โดยขาดความเข้าใจถึงผลเสียของพืชเชิงเดี่ยวที่มีผลต่อระบบนิเวศน์ และพื้นฐานการดำรงชีวิต และทำให้เกิดหนี้สินตามมามากมาย  เนื่องจากผู้ส่งเสริมที่ทำหน้าที่เป็น ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) ไม่เข้าใจวิธีคิดในเชิงธุรกิจ ซึ่งต้องมองภาพรวมทั้งกระบวนการ
  • เพิ่มผลผลิตโดยวิธีขยายพื้นที่ ไม่ได้เน้นการสร้างรายได้ต่อหน่วยพื้นที่
  • ความไม่แน่นอนของธรรมชาติ ป่าถูกทำลาย ฝนตกไม่ตรงตามฤดูกาล
  • เกษตรกรไทย “ยิ่งทำยิ่งจน” กลายเป็นผู้ด้อยโอกาส ในประชากรทั้งหมดของประเทศขณะนี้เหลือภาคเกษตรเพียง 49% ของประชากรไทย ซึ่งมีเพียง 7% ของภาคเกษตรเท่านั้นที่แข่งขันได้ และอีก 20% ของภาคเกษตรเป็นผู้ด้อยโอกาส
  • ปัญหาด้านการตลาด  (ภายในประเทศ)
  • อำนาจต่อรองน้อย ขึ้นกับนายทุน
  • ช่องทางจำหน่ายมีน้อย ขึ้นกับพ่อค้าคนกลาง
  • ข้อมูลข่าวสารน้อย ไม่ทันเหตุการณ์  ในกรณีนี้รัฐควรเป็นผู้สนับสนุนข้อมูลที่วิเคราะห์ / สังเคราะห์ แล้วให้กับเกษตรกรนำไปใช้ประโยชน์ให้ทันเหตุการณ์ และฝึกให้เกษตรกรคิดเป็น วิเคราะห์เป็น เข้าใจวิธีการวางแผนการผลิตให้สอดคล้องตลาด
  • ปัญหาด้านยุทธศาสตร์
  • สินค้าเกษตรถูกกดราคาเพื่อให้ค่าครองชีพของคนเมืองต่ำลง เช่น “ไข่” กลายเป็นสินค้าการเมือง  ถ้ารัฐบาลใดปล่อยให้ไข่ราคาสูง จะกลายเป็นตัวชี้วัดความล้มเหลวของรัฐบาล
  • ข้อมูลการตลาดไม่ชัดเจน และล่าช้า
  • ขาดการสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแบบครบวงจรตั้งแต่การผลิต – แปรรูป ไปจนถึงการจำหน่าย
  • การพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร

3. อุปสรรค
อุปสรรคด้านตลาดโลก

  • ผลกระทบจากการปฏิวัติเขียว ทำให้หลายประเทศในโลกมุ่งเน้นการรักษา Food Security ของตน  และไม่เปิดให้สินค้าเกษตรบางอย่างเข้าประเทศ
  • สิทธิกีดกันทางการค้า องค์กรต่างๆ  เช่น WTO มีระเบียบข้อบังคับมากมายที่มีผลต่อผลผลิตสินค้าเกษตรของไทย

4. โอกาส
สภาพแวดล้อมภายนอกประเทศที่ส่งผลต่อประเทศไทยในด้านการผลิตและการตลาด สินค้าเกษตรในทางบวก ได้แก่สถานการณ์สากลที่เกื้อหนุน เช่น สภาวะสงคราม ความแห้งแล้ง หรือภูมิประเทศที่จำกัดทำให้เกิดความต้องการสินค้าประเภทอาหาร กระแสสังคมด้านการรักษาสุขภาพ ทำให้เน้นความปลอดภัยของสินค้าอาหารและบริโภค

จากผลการวิเคราะห์ สามารถสรุปผล สังเคราะห์ออกมาเป็นแนวทางการพัฒนาการเกษตรของไทย ซึ่ง CP ได้สรุปไว้และใช้เป็นแนวทางของบริษัทในการดำเนินงานด้านการตลาด

หากต้องการทราบการอัพเดทของ การบ้าน ยุทธศาสตร์ของบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ และเรื่องที่เกี่ยวข้อง แนะนำให้กด ที่ facebook ด้านล่างนี้เลยค่ะ เผื่อที่จะได้อัพเดทก่อนใคร

อัพเดทเมื่อ วันเสาร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ในหมวดหมู่ของ การบ้าน เรื่อง การบ้าน ยุทธศาสตร์ของบริษัทเจริญโภคภัณฑ์