คำสั่ง READ,READLN,WRITE และ WRITELN
คำสั่ง READ และ READLN
เป็นคำสั่งที่สั่งให้เครื่องรอรับค่าข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนให้ทางคีย์บอร์ด
รูปแบบวิธีการใช้
1) READ (ชื่อตัวแปร);
2) READLN (ชื่อตัวแปร);
ตัวอย่าง
Program testread;
Uses crt;
Var sum : integer;
a,b,c : integer;
Begin
Clrscr;
Write(‘ป้อนค่าของ a,b,c เป็นเลขจำนวนเต็ม’);
Readln(a); Readln(b);Readln(c);
sum := a+b+c;
writeln(‘ผลลัพธ์ที่ได้คือ’,sum);
Readln;
End.
คำสั่ง WRITE และ WRITELN
คำสั่ง Write และ Writeln เป็นคำสั่งให้เครื่องพิมพ์ข้อความหรือผลลัพธ์
ของตัวแปรออกหน้าจอ
วิธีการใช้คำสั่ง
1. ถ้าพิมพ์ข้อความจะต้องปิดหัวท้ายของข้อความด้วยเครื่องหมาย ‘ (อโพสโตฟีเอส)
2. ถ้าพิมพ์ผลลัพธ์ของตัวแปรไม่ต้องมีเครื่องหมาย ‘ (อโพสโตฟีเอส) กำกับ
เช่น writeln (‘วชิรธรรมโศภิต’);
writeln (Sum); เมื่อ ตัวแปร Sum เป็นตัวแปรที่ตั้งขึ้นเพื่อเก็บค่าของข้อมูล
ตัวอย่าง
Program testwrite;
Const WS = ‘โรงเรียนวชิรธรรมโศภิต’;
Var a,b : integer;
c : real;
Begin
Clrser;
a := 20;
b := 10;
c := a * b;
writeln (WS,a,b,c);
writeln (‘จบการทำงาน’);
readln;
End.
ตัวอย่าง
Program readandwrite;
Var x,y : integer;
sum : real;
Begin
Clrscr;
Write (‘ให้ป้อนค่าของ x และ y เป็นเลขจำนวนเต็ม’);
Readln (x); Readln (y);
sum := x + y (x mod y) * x + y (x div y)
Writeln (‘ผลลัพธ์ที่ได้คือ sum =’;sum);
Readln;
End.
การพิมพ์แบบกะระยะ โดยใช้คำสั่ง Write และ Writeln
เป็นการกำหนดตำแหน่งการแสดงข้อมูลออกทางหน้าจอ
รูปแบบการใช้งาน
Write(ตัวแปร หรือ ข้อความ : ตำแหน่งคอลัมน์);
Writeln(ตัวแปร หรือ ข้อความ : ตำแหน่งคอลัมน์);
เช่น
Write(‘ห้องศูนย์คอมพิวเตอร์’ : 35); หมายความว่า ให้พิมพ์ข้อความว่า
ห้องศูนย์คอมพิวเตอร์ที่
บรรทัดที่ 1 คอลัมน์ที่ 35 ของหน้าจอ
Writeln(A : 20,B:25); หมายความว่า ให้พิมพ์ค่าของ A ที่ตำแหน่ง
คอลัมน์ที่ 20 และพิมพ์ค่า
ของ B ที่คอลัมน์ที่ 25 ของหน้าจอ
ตัวอย่างโปรแกรม
Program testWrite;
Uses crt;
Var A,B : Integer;
Begin
Clrscr;
Write(‘ให้ป้อนค่าของ A และ B);Readln(A,B);
Clrscr;
Write(‘ห้องศูนย์คอมพิวเตอร์’ : 20);
Writeln(A : 20,B : 25);
Writeln(‘จบการทำงาน’ : 23);
Readln;
End.
ตัวอย่างโปรแกรม
Program testWrite1;
Uses crt;
Begin
Clrscr;
Write(‘ฉันชอบภาษา Pascal : 35);
Write(‘และรักวิชานี้มาก’ : 35);
Writeln(1220.56 :7 :35);
Writeln(1220.56 :5 :35);
Writeln(1220.56 :9 :35);
Writeln(‘จบการทำงาน’ : 30);
Readln;
End.
หากต้องการทราบการอัพเดทของ เขียนโปรแกรม คำสั่ง READ,READLN,WRITE และ WRITELN ภาษาปาสคาล และเรื่องที่เกี่ยวข้อง แนะนำให้กด ที่ facebook ด้านล่างนี้เลยค่ะ เผื่อที่จะได้อัพเดทก่อนใคร
อัพเดทเมื่อ วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ในหมวดหมู่ของ เขียนโปรแกรม เรื่อง เขียนโปรแกรม คำสั่ง READ,READLN,WRITE และ WRITELN ภาษาปาสคาล