ปวดเมื่อยขาทำไงดี แนะวิธีดูแลปวดเมื่อยด้วยตนเอง ไม่ควรใช้ยาทาสูตรร้อนจะกระตุ้นอักเสบ

วันนี้เว็บไซต์ PrettyHD จะมาอัพเดทบทความเกี่ยวกับ อัพเดทเรื่อง สุขภาพน่ารู้ ปวดเมื่อยขาทำไงดี แนะวิธีดูแลปวดเมื่อยด้วยตนเอง ไม่ควรใช้ยาทาสูตรร้อนจะกระตุ้นอักเสบ วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งมีเนื้อหามีดังนี้

X-Ray ข่าวจากช่วง พบหมอรามา 25 มกราคม 2555 ทาง TrueVision 80
แนะวิธีดูแลปวดเมื่อยด้วยตนเอง ไม่ควรใช้ยาทาสูตรร้อนจะกระตุ้นอักเสบ
​อาการปวดหลัง ปวดเอว หรือต้นขา นับเป็นอีกหนึ่งโรคภัยที่ทำให้การทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันของ คนเรากลายเป็น เรื่องยาก บริษัท เรกคิทท์ เบนคีเซอร์ เฮลธ์แคร์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ ‘นูโรเฟน เจล’ จึงจัดกิจกรรมเสวนาในหัวข้อ “การทำงานและการออกกำลังกาย เป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดของคุณ” ขึ้น ณ ศูนย์การ ค้า Digital Gateway ชั้น G เพื่อให้ความรู้ และแนะนำแนวทางที่จะช่วยป้องกัน และรักษาอาการปวดเมื่อยเบื้องต้นแก่ ผู้ที่มีปัญหาได้ด้วยตัวเอง



​โดยได้เปิดเผยว่า กลุ่มคนทำงานและ ออกกำลังกายน่าจะเป็นกลุ่มหลักๆที่ต้องประสบกับอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เคล็ดขัดยอกของกล้ามเนื้อ หรือข้อและเส้นเอ็น ไม่ว่าจะเป็นที่มือและข้อมือ กล้ามเนื้อหลัง คอ ไหล่ เอว ดังนั้น การออกแรงกล้ามเนื้อเกินกำลัง หรือออกแรง กล้าม เนื้อ บริเวณเดิมติดต่อกันมากเกินไป หรือการยืดกล้ามเนื้อหรือเอ็นไปในทิศทางหรือระยะทางที่มากเกินไป ก็จะทำให้เกิด การอักเสบของกล้ามเนื้อและเอ็นได้เช่นเดียวกัน เมื่อ มีอาการปวดหรืออักเสบกล้ามเนื้ออย่างเฉียบพลัน ควรหยุด การออกแรงกล้ามเนื้อบริเวณนั้นๆ และให้ใช้น้ำแข็งหรือน้ำเย็นประคบบริเวณที่บาดเจ็บหรืออักเสบภายใน 24 ชั่วโมง หลังบาดเจ็บ รวมถึงอาจจะใช้ ยาทาชนิดที่มีส่วนประกอบของยาลดการอักเสบ เพื่อบรรเทาอาการปวดและอักเสบ แต่สิ่งหนึ่งที่พึงระวังคือไม่ควรใช้ยาทาชนิดสูตรร้อน เพราะจะยิ่งกระตุ้นอาการอักเสบให้รุนแรงขึ้นสำหรับความ แตกต่าง ในการ ดูแลอาการอักเสบจากกล้ามเนื้อและเอ็นคือ การบาดเจ็บจากกล้ามเนื้อ อาจเลือกใช้ยาทานวดชนิดที่มียาแก้ อักเสบ จะช่วยลดการอักเสบที่ต้นเหตุได้ดี กว่า ส่วนการบาดเจ็บจากเอ็น เช่น เอ็นข้อศอกที่พบในนักเทนนิสนั้น จำเป็น ต้องใช้ยาทาชนิดที่มียาต้านการอักเสบซึ่งจะได้ผลมากกว่า ซึ่งยาต้านการอักเสบนั้นมีทั้งรูปแบบยาทาและยารับประทาน ในกรณีที่มีอาการอักเสบกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง สามารถเลือกใช้ทั้งยาในรูปแบบยารับประทานและยาทาต้านอาการอักเสบควบคู่กัน เพื่อเสริมการรักษาให้เร็วขึ้นได้ หรือควรพบแพทย์ผู้รักษาเฉพาะทาง.

มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับชนิดของการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นกันก่อน ส่วนใหญ่สามารถแบ่งให้เข้าใจง่ายๆดังนี้

1.1 บาดเจ็บผิวเผิน ไม่รุนแรงเช่นผิวหนังถลอก (Abrasion)
1.2 เกิดการกระแทกไม่รุนแรง การเสียดสีทำให้เกิดผิวหนังพอง (Blisters)
1.3 การเกิดการฟกช้ำ (Contusion) จากมีแรงกระแทกโดยตรง ซึ่งโดยมากมาจากวัตถุแข็ง ไม่มีคม ทำให้เกิดเลือดคั่งอยู่และไม่สามารถซึมออกสู่เนื้อเยื่อข้างเคียงได้ อาจมีอาการเจ็บปวด บวมร่วมด้วย การปฐมพยาบาลที่เหมะสมเบื้องต้นโดยการประคบเย็นโดยทันทีพร้อมกับกดเบาๆตรงบริเวณฟกช้ำ ความเย็นจะทำให้หลอดเลือดหดตัว ทำให้เลือดหยุดและบรรเทาความเจ็บปวดได้ อาการฟกช้ำนี้จะหายเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับปริมาณของเลือดที่ออกในชั้นใต้ผิวหนัง หลังจาก 24 -48 ชั่วโมงไปแล้ว จึงใช้ความร้อนประคบจะช่วยให้ก้อนเลือดสลายตัวได้เร็วขึ้น
1.4 เอ็นหรือกล้ามเนื้อฉีกขาด (Tendon or ligament tear/strain/sprain) มักพบที่กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า ด้านหลัง และน่อง โดยแบ่งความรุนแรงออกเป็น 3 ระดับคือ
1.4.1 ระดับที่หนึ่ง กล้ามเนื้อฉีกขาดเล็กน้อย จะมีการบาดเจ็บเล็กน้อย อาจบวมหรือไม่บวมก็ได้ ปกติสามารถหายภายใน 3 วันโดยใช้ผ้ายืดพันยึดส่วนนั้นเอาไว้
1.4.2 ระดับที่สอง กล้ามเนื้อฉีกปานกลาง กล้ามเนื้อยังทำงานได้บ้าง จะมีอาการปวดบวม ต้องพันยึดด้วยผ้ายืดและใส่เฝือก โดยใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์
1.4.3 ระดับที่สาม กล้ามเนื้อฉีกขาดสมบูรณ์ กล้ามเนื้อไม่สามารถทำงานได้ บวมและปวดรุนแรง คลำดูจะพบรอยบุ๋มใต้ผิวหนัง จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดเพื่อเย็บต่อส่วนที่ขาด และใช้กายภาพบำบัดเข้าช่วย
หลักการปฐมพยาบาลและบำบัดรักษากล้ามเนื้อฉีก แบ่งเป็น 2 ระยะคือ

1. ระยะแรก ภายใน 24 – 48 ชั่วโมง ให้ใช้หลัก “RICE” ดังนี้

R = Rest ให้พักโดยเฉพาะส่วนที่บาดเจ็บ
I = Ice ใช้น้ำแข็งประคบส่วนที่บาดเจ็บ ครั้งละ 20 – 30 นาที วันละ 2 – 3 ครั้ง
C = Compression พันกระชับส่วนนั้นด้วยม้วนผ้ายืด ควรใช้สำลีรองก่อน หลักการพันคือพันจากส่วนปลายมาหา ส่วนต้น (เวลานอนไม่ต้องพัน)
E = Elevation ยกส่วนที่บาดเจ็บให้อยู่สูงกว่าระดับหัวใจ เพื่อช่วยให้เลือดไหลกลับหัวใจ เป็นการช่วยลดอาการปวดบวม

2. ระยะที่สอง นานเกิน 24 -48 ชั่วโมง ผู้บาดเจ็บเริ่มทุเลาแล้ว จะใช้ความร้อนและวิธีทางกายภาพบำบัด โดยใช้หลัก “HEAT” ดังนี้

H = Hot ใช้ความร้อนประคบ โดยเฉพาะความร้อนลึก(เป็นเครื่องมือทางกายภาพบำบัด) หรือใช้กระเป๋าน้ำร้อนก็ได้
E = Exercise ลองขยับเขยื้อนส่วนที่บาดเจ็บดูเบาๆ เป็นการบริหารส่วนที่บาดเจ็บและทำการบีบนวดไปด้วย
A = Advanced Exercise ระยะหลังๆ บริหารให้มากขึ้น อาจมีผู้ช่วยในการบริหารส่วนที่บาดเจ็บ หรือใช้อุปกรณ์ช่วยในการออกกำลังกาย
T = Training for Rehabilitation

1.5 อาการตะคริว (Cramp) เกิดจากการเกร็งตัวชั่วคราวของกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อมัดนั้นแข็งเกร็งและมีอาการปวดจะเกิดขึ้นเป็นระยะเวลาไม่นานก็จะหายไปเอง แต่อาจเกิดเป็นซ้ำที่เดิมอีกก็ได้ ในบางครั้งกล้ามเนื้ออาจเป็นตะคริวพร้อมๆกันหลายๆมัดก็ได้ เกิดจากหลายสาเหตุเช่น ร่างกายขาดเกลือแร่ ฝึกซ้อมนานเกินไป สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม รวมทั้งการใช้ผ้ายืดรัดบนกล้ามเนื้อค่อนข้างแน่นทำให้เลือดไหลเวียนไม่ดี การป้องกันทำได้โดยพยายามหลีกเลี่ยงสาเหตุดังกล่าว การปฐมพยาบาลโดยการให้หยุดออกกำลังกายในทันที ให้ค่อยๆ เหยียดกล้ามเนื้อที่เป็นตะคริวอย่างช้าๆ นุ่มนวล ใช้ความร้อนประคบเพื่อกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนไปยังบริเวณนั้นมากขึ้น

1.6 กล้ามเนื้อระบม (Muscular Soreness) แบ่งเป็น 2 แบบคือ

1.6.1 การระบมแบบเฉียบพลัน (Acute Soreness) ที่เกิดขึ้นระหว่างออกกำลังกายในทันทีทันใดภายหลังการออกกำลังกาย สาเหตุเกิดจากกล้ามเนื้อมีความตึงตัวสูง เลือดไหลไปเลี้ยงไม่พอ (Ischemia) ทำให้ไม่สามารถขจัดของเสียได้ทัน จะมีอาการเจ็บปวดในกล้ามเนื้อ
1.6.2 การระบมที่เกิดขึ้นภายหลัง (Delayed Soreness) เป็นการระบมที่เกิดขึ้นหลังจากหยุดออกกำลังกายไปแล้ว 24 -48 ชั่วโมง สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อกันว่าน่าจะเกิดจากกล้ามเนื้อ เอ็น เกิดความเสียหายระหว่างที่ออกกำลังกาย
การป้องกันกล้ามเนื้อระบม ทำได้โดยการอบอุ่นร่างกายให้เพียงพอ ปรับปรุงวิธีการออกกำลังกายโดยเริ่มต้นแต่น้อยแล้วค่อยเพิ่มขึ้นในภายหลัง

ยาที่เป็นประเด็นสำคัญที่พูดถึง

ยานวดร้อน(Analgesic balm) ยี่ห้อที่รู้จักกันดีเช่น counterpain เป็นยานวดแก้ปวดเมื่อย แบบ ธรรมดา เคล็ดขัดยอก ฟกช้ำ เบาๆ โดยยา จะออกฤทธิ์ ทำให้เกิดความร้อนบริเวณที่ปวดเมื่อย ทำให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณที่ปวดมากขึ้น ทำให้หายจากการปวดเมื่อยโดยไม่มียาต้านอักเสบเป็นส่วนผสม ในทางเภสัชศาสตร์เราเรียกว่า ยาออกฤทธิ์ แบบ counter-irritant ซึ่งจะไม่เหมาะในช่วงแรกของการบาดเจ็บ การประคบเย็นจะให้ผลดีกว่า ในปัจจุบันมีการทำ ยานวดสูตรเจลชนิดเย็น ที่มักมีคำว่า cool มาด้วย...ทาแล้วจะเย็น แต่ก็ออกฤทธ์ เหมือนกัน ซึ่งบางครั้งการมห้ความเย็นอาจน้อยกว่าสั้นกว่าการประคบน้ำแข็งเสียด้วยซ้ำ
ยานวดที่เข้าสูตรยาต้านการอักเสบ ซึ่งในปัจจุบันมักเป็นยากลุ่มที่ไม่เข้าเสตียรอยด์ หรือที่ได้ยินติดปากว่า NSAIDs เช่น Voltaren gel, Reparil gel หลายๆตัวนั้น เป็นยานวดแก้ปวดเมื่อย กล้ามเนื้ออักเสบ ที่มีตัวยา NSAIDs ผสมอยู่ สูตรพวกนี้ทาแล้วจะรู้สึกเย็น ยา NSAIDs จะออกฤทธิ์ ลดการอักเสบ ของกระดูกและกล้ามเนื้อในทางเภสัชวิทยาเราเรียกว่าออกฤทธิ์ anti-inflammatory
เวลาที่เราจะเลือกในการใช้ ก็ต้องวิเคราะห์อาการของเราเองดูว่าปวดเมื่อย แบบไหน รุนแรงไม่รุนแรง ถ้าไม่รุนแรงมาก ถ้าไม่ใช่กล้ามเนื้ออักเสบเป็นแค่ปวดเมื่อยธรรมดา ก็ใช้แค่ ยานวดสูรร้อนต่าง ๆ ที่มีจำหน่ายทั่วๆไปได้ แต่ถ้าปวดมาก กล้ามเนื้ออักเสบ ฉีกขาดแต่ไม่รุนแรงมากก็ให้ใช้หลักการของ RICE และ HEAT ในการเลือกใช้ยาสำหรับกลุ่มนี้ให้ใช้ NSAIDs gel หรือจะใช้ทั้งสองอย่างคู่กันก็ได้ตามความเหมาะสม. พึงระลึกไว้เสมอว่าหากการบาดเจ็บรุนแรงเช่นเอ็นหรือกล้ามเนื้อฉีกขาดเกิดขึ้นการใช้ยานวดไม่ว่าสูตรเย็นหรือสูตรร้อนไม่สามารถช่วยได้เบ็ดเสร็จจำเป็นต้องอาศัยการเข้าเฝือกหรือการผ่าตัดร่วมในบางกรณีดังนั้นจึงควรเข้ามาพบ ปรึกษาแพทย์หากมีอาการรุนแรงมากขึ้นจึงเป็นการเหมาะสมกว่า

อาจารย์นายแพทย์ ศักดา อาจองค์, MD,BBA, MS.ICT,MA(Information Science)
กุมารเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
dr.sakda@gmail.com

หากต้องการทราบการอัพเดทของ สุขภาพน่ารู้ ปวดเมื่อยขาทำไงดี แนะวิธีดูแลปวดเมื่อยด้วยตนเอง ไม่ควรใช้ยาทาสูตรร้อนจะกระตุ้นอักเสบ และเรื่องที่เกี่ยวข้อง แนะนำให้กด ที่ facebook ด้านล่างนี้เลยค่ะ เผื่อที่จะได้อัพเดทก่อนใคร

อัพเดทเมื่อ วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556 ในหมวดหมู่ของ สุขภาพน่ารู้ เรื่อง สุขภาพน่ารู้ ปวดเมื่อยขาทำไงดี แนะวิธีดูแลปวดเมื่อยด้วยตนเอง ไม่ควรใช้ยาทาสูตรร้อนจะกระตุ้นอักเสบ