ปวดเมื่อยขาทำไงดี โรคหลอดเลือดแดงตีบ

วันนี้เว็บไซต์ PrettyHD จะมาอัพเดทบทความเกี่ยวกับ อัพเดทเรื่อง สุขภาพน่ารู้ ปวดเมื่อยขาทำไงดี โรคหลอดเลือดแดงตีบ วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งมีเนื้อหามีดังนี้

ท่านเคยปวดขาหรือขาไม่มีแรงเมื่อเดินบ้างหรือไม่

เวลาที่ท่านเดินเร็วๆ เดินขึ้นบันได หรือแม้ขณะเดินเล่น แล้วเกิดอาการปวดเมื่อยที่น่อง และสะโพก เมื่อพักสักครู่แล้วหายปวด อาการอย่างนี้เป็นตลอด และจะปวดเมื่อเดินด้วยระยะทางเท่าๆเดิม อาการเช่นนี้เป็นสัญญาณเตือนว่าท่านอาจจะมีอาการของเส้นเลือดแดงที่ขาตีบ ทำให้เลือดไปเลี้ยงที่ขาน้อยลง จึงเกิดตะคริวหรือปวดเมื่อยเวลาเดิน ไม่มีการรักษาใดที่จะทำให้โรคนี้หายเป็นปลิดทิ้งทันที


สัญญาณเตือน

หากเส้นเลือดตีบไม่มาก หรือ อาจจะมีการไหลเวียนของเลือดจากเส้นเลือดใกล้เคียง ทำให้ไม่มีอาการอะไรเลย ต่อเมื่อเส้นเลือดตีบมากขึ้น เลือดไปเลี้ยวอวัยวะส่วนนั้นไม่พอผู้ป่วยจะมีอาการหลอดเลือด

ปวดน่อง
ตะคริว
ชาเท้า
อ่อนแรง
โดยเฉพาะ เมื่อเวลาเดิน และจะเริ่มมีอาการปวดเมื่อเดินได้ระยะทางใกล้เคียงกัน อาการจะเป็นๆหายๆทางการแพทย์เรียก I ntermittent Claudication เมื่อเส้นเลือดตีบมากขึ้นจะเกิดอาการปวดแม้ขณะพัก

การไหลเวียนของเลือด

เลือดจะเริ่มตนจากหัวใจสูบฉีดเลือดไปตามหลอดเลือดแดงใหญ่ เพื่อไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกาย เลือดดำหรือเลือดที่ได้ไปเลี้ยงร่างกายจะกลับไปทางหลอดเลือดดำ และกลับเข้าสู่หัวใจ

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค

มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่จะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแดงตีบ ปัจจัยต่างๆได้แก่

กรรมพันธ์
วัยสูงอายุ
หลอดเลือดแดงแข็ง
การสูบบุหรี่
โรคความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวาน
โรคไขมันในเลือดสูง
คนอ้วน
การขาดการออกกำลังกาย
เพศ
เมื่อไปพบแพทย์

หากท่านมีอาการดังกล่าวต้องแจ้งให้แพทย์ทราบอย่างละเอียด เมื่อแพทย์สงสัยแพทย์จะซักประวัติเพิ่มเติม ครวจร่างกายเพิ่มเติม และส่งตรวจพิเศษเพิ่มเติม

ประวัติและการตรวจร่างกาย

แพทย์จะถามถึงโรคประจำประวัติครอบครัว
โรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่
ยาที่ผู้ป่วยรับประทาน
การออกกำลังกาย
การสูบบุหรี่
อาการทั่วๆไป
อาการของการเจ็บขา
สิ่งที่สังเกตเห็นเมื่อเส้นเลือดแดงตีบ

ขนที่เท้าหรือขาจะน้อย
สีผิวของขาจะคล้ำขึ้น บางรายอาจจะซีด
คลำชีพขจรที่หลังเท้าไม่ได้
เท้าจะเย็นอุณหภูมิเท้าสองข้างไม่เท่ากัน
เสื่อมสมรรถภาพทางเพศในชายที่เป็นความดันโลหิตสูง
แผลเรื้อรังที่เท้า
เล็บหนาตัว
หากเป็นมากจะมีการเน่าของนิ้ว
การตรวจวินิจฉัยโรค

การตรวจด้วยวิธี ankle-brachial index (ABI) คือการวัดความดันโลหิตที่แขนทั้งสองข้างและขาทั้งสองข้าง และนำเปรียบเทียบกัน ปกติความดันที่ขาจะสูงกว่าที่แขน ดูรูปที่นี่
การใช้หูฟังเสียงที่หลอดเลือดแดงที่ขา หากได้ยินเสียง แสดงว่ามีการตีบของหลอดเลือด
การตรวจด้วยเครื่องดอปเปลอร์
หากการตรวจเบื้องต้นพบว่า หลอดเลือดแดงตีบค่อนข้างมาก และจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไข ท่านอาจจะต้องได้รับการฉีดสีเพื่อตรวจหลอดเลือดเพิ่มเติม โดยอาศัยพิธีพิเศษร่วมกับการถ่ายภาพรังสีต่อเนื่อง จะช่วยให้ตรวจการไหลเวียนของโลหิตและตำแหน่งของการตีบแคบหรืออุกตันได้

การฉีดสี Arteriogram โดยการฉีดสีเข้าไปในเส้นเลือด เพื่อดูตำแหน่งเส้นเลือดที่ตีบ
Magnetic resonance angiography (MRA). โดยการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
CT Angiography (CTA). การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ร่วมกับการฉีดสี จะทำให้การวินิจฉัยแม่นยำมากขึ้น
นอกจากนั้นจะต้องตรวจหาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดหลอดเลือดแดงตีบ เช่น

ระดับน้ำตาลในเลือด
ระดับไขมันในเลือด
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
การรักษา

การที่เกิดหลอดเลือดแดงตีบไม่ใช่เกิดจากการเสื่อมจากอายุ แต่เป็นการเกิดหลอดเลือดตีบจากโรค atherosclerosis หากเกิดหลอดเลือดแดงที่ขาตีบจะต้องคำนึงถึงว่าอาจจะมีหลอดเลือดที่อื่นตีบ เช่นหลอดเลือดหัวใจเป็นต้น

การรักษาทั่วๆไป

การเดินเป็นวิธีการที่ดีที่สุด กระตุ้นให้เดินจนกระทั่งเริ่มปวด แล้วหยุด เมื่อหายปวดเริ่มเดินใหม่ การเดินจะทำให้หลอดเลือดที่ขามีการสร้างขึ้นใหม่ ช่วยทำให้เดินได้นานขึ้น ปวดน้อยลง อ่านที่นี่
หลีกเลี่ยงการประคบน้ำแข็งหรือน้ำร้อน
สวมรองเท้าที่คับพอดี
หลีกเลีบงอาหารที่ให้พลังงานมากเกินไป หรืออาหารมันมากเกินไป
หยุดสูบบุหรี่
รับประทานอาหารที่มีวิตามินบีมาก
การดูแลเท้า
การออกกำลังกาย
การรักษาด้วยยา

การใช้ยา
ยาต้านเกล็ดเลือด Anti-Platelet Agents – ยาในกลุ่มนี้จะลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ทำให้เดินได้ไกลขึ้น ยาที่สำคัญได้แก่
Aspirin - ขนาด (81-325 mg) เปแ็นยาหลักที่ใช้รักษา
Clopidogrel bisulfate (Plavix?) – เป็นยาต้านเกล็ดเลือดใหม่ที่ใช้รักษาโรคหัวใจ
Anticoagulation Agents – ยาละลายลิ่มเลือด ยาที่ใช้ได้แก่
Warfarin (Coumadin?) – การปรับยาต้องเจาะเลือดตรวจ เพราะหากให้มากไปอาจจะเกิดเลือดออกในช่องท้องหรือสมอง
Enoxapari,flaxiparine? –เป็นยาฉีดที่ใช้ในช่วงแรกก่อนที่ยากินจะออกฤทธิ์.
ยาอื่นๆ – ได้แก่ยาที่ขยายหลอดเลือดได้แก่
Trental?
Pletal?
การควบคุมระดับไขมันในเลือด
การให้ยาขยายหลอดเลือด
การควบคุมความดันโลหิต
การควบคุมโรคเบาหวาน
การให้ยา Beta-block ,estrogen อาจจะทำให้อาการเส้นเลือดแดงตีบเป็นมากขึ้น

หากการรักษาด้วยยาแล้วยังมีอาการปวดต้องรักษาด้วยวิธีอื่น

การทำ Balloon angioplasty แพทย์จะสอดสายเข้าไปหลอดเลือดแดงที่ขาหนีบ แล้วเอาบอลลูนดันส่วนที่ตีบให้ขยายพร้อมทั้งใส่ขดลวด
การผ่าตัด Bypass โดยการใช้เส้นเลือดเทียมต่อข้ามส่วนที่ตัน
การป้องกัน

ป้องกันและรักษาโรคหัวใจ
รักษาระดับไขมันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
หยุดสูบบุหรี่
รักษาน้ำหนัก อย่าให้อ้วน
ควบคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติ
ติดต่อกับแพทย์ประจำตัวของท่านหากมีอาการดังต่อไปนี้

วิงเวียนศรีษะ หน้ามือจะเป็นลม หรือเกิดอาการอ่อนแรง
หายใจไม่ทั่วท้อง หัวใจเต้นเร็ว หรือเต้นไม่เป็นจังหวะ แน่นหน้าอก
มีไข้

หากต้องการทราบการอัพเดทของ สุขภาพน่ารู้ ปวดเมื่อยขาทำไงดี โรคหลอดเลือดแดงตีบ และเรื่องที่เกี่ยวข้อง แนะนำให้กด ที่ facebook ด้านล่างนี้เลยค่ะ เผื่อที่จะได้อัพเดทก่อนใคร

อัพเดทเมื่อ วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556 ในหมวดหมู่ของ สุขภาพน่ารู้ เรื่อง สุขภาพน่ารู้ ปวดเมื่อยขาทำไงดี โรคหลอดเลือดแดงตีบ