ฝึกภาษาอังกฤษเอง 7 ขั้นตอนที่จะทำให้คนไทยเก่งภาษาอังกฤษอย่างถาวรและแท้จริง

วันนี้เว็บไซต์ PrettyHD จะมาอัพเดทบทความเกี่ยวกับ อัพเดทเรื่อง บทสนทนาอังกฤษ ฝึกภาษาอังกฤษเอง 7 ขั้นตอนที่จะทำให้คนไทยเก่งภาษาอังกฤษอย่างถาวรและแท้จริง วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งมีเนื้อหามีดังนี้

             ทฤษฎีใหม่ในการสอนภาษาอังกฤษ สำหรับคนไทย
ที่รวม การวางพื้นฐานด้วย Phonemic awareness & Phonics ตามด้วย การสอน อ่านเป็น คำ (whole language) เพื่อแก้ปัญหาอาการภาษาอังกฤษบกพร่อง (dyslexia) ของคนไทย

( PA & Phonics   ดร .อินทิรา แปล ว่า หลักสูตรถอดรหัสภาษาอังกฤษ


PA ถอดรหัสเสียงให้เป็นตัวอักษร = การฟัง/ Phonics = ถอดรหัสตัวอักษรให้เป็นเสียง = การอ่าน )
                                                           

                                                       โดย ดร. อินทิรา ศรีประสิทธิ์
                                                      ผู้อำนวยการ  Cyberschool of English
                                                            มูลนิธิเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต

                                                       www.cyber-smart.org

ผลสรุป งานวิจัย เสนอ วันประชุมนานาชาติ ของ UNESCO-APEID
และในงานวันมหกรรมวันครูโลก  ครั้งที่ 12 วันที่  24-26  มีนาคม   2522  (English session)
Teacher Training for Student Centered Learning
(การอบรมครูในสภาพแวดล้อมที่มีนักเรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้)

           คนไทยส่วนมาก ( ประมาณ   70%-80%) มีอาการภาษาอังกฤษบกพร่อง ที่ เราเรียกว่า dyslexia  ซึ่งหมายความถึง ความไม่สามารถในการเรียนรู้ที่จะฟัง พูด หรือ อ่านภาษาอังกฤษได้คล่องอย่างถูกต้องและ ชัดถ้อยชัดคำ อาการภาษษบกพร่องนี้ไม่ได้เกิดกับคนไทยที่มีไอคิวต่ำ แต่เกิดได้กับเด็กและผู้ใหญ่ที่มีความฉลาดและสภาวะของร่างกายปกติทุกประการ รวมทั้งความสามารถในการได้ยินและได้เห็น

 คุณเอง มีอาการภาษาอังกฤษบกพร่อง ที่ระบุใน ตารางที่  1 เหมือนคนไทยส่วนมากหรือไม่ ?
อาการภาษาอังกฤษบกพร่องร้ายแรง แค่ไหนสำหรับคนไทย ? และ จะแก้ไข เยียวยาอย่างไร ?

                อาการภาษาบกพร่องเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้นักเรียนไทยมีผลสัมฤทธิ์ในวิชาภาษาอังกฤษต่ำในการสอบ เอเน็ท และ โอเน็ท  รวมทั้งในผลการสอบโทเฟิล ไอบีที หรือ ไอ เอลท์ ซึ่งสร้างปัญหาให้แก่ผู้ปกครอง เพราะ จะ ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการติวภาษาอังกฤษที่มีราคาค่อนข้างสูงและค่าสอบซ่อม เพื่อให้ได้ผลสอบที่ต้องการในการสมัครเรียนต่อณ สถาบันต่างประเทศ  นักศึกษาระดับปริญญาโทและเอกของไทยมีปัญหาในการอ่านภาษาอังกฤษ ทำให้เป็นอุปสรรคในการค้นคว้าหาความรู้เพื่อทำวิทยานิพนธ์และผลิตงานที่ถือว่าเป็นนวัตกรรมที่แท้จริงในวงการวิชาการ
           ในปัจจุบัน ปัญหาอาการภาษาอังกฤษบกพร่องของคนไทยขยายวงกว้างกว่าสนามสอบ หรือ สนามแข่งขันในรั้วมหาวิทยาลัย      ในชีวิตการทำงานของคนไทยกับคนต่างชาติ มีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ยอมรับว่าตัวเองมีญหาในการสื่อสารกับคนต่างชาติอย่างเนืองนิจ     นักศึกษามหาวิทยาลัยของไทยที่ไปทำงานซัมเมอร์ ในต่างประเทศมักจะร้องทุกข์ว่าตัวเองถูกหลอกไปใช้แรงงานทั้งๆที่จบปริญญตรี หรือ โท แต่ต้องไปทำงานระดับที่ใช้แรงงาน เช่น ล้างจาน ทำความสะอาดหรือซักผ้า       แต่ความจริงก็เป็นเพราะเขาไม่สามารถสื่อสารได้ดีกับลูกค้าต่างชาติในงานบริการตำแหน่งประชาสัมพันธ์ หรือพนักงานต้อนรับในธุรกิจท่องเที่ยวและ โรงเแรมที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษในระดับที่ถือว่าง่ายแล้ว      นอกจากนี้คนงานไทยในต่างประเทศส่วนมากมักถูกเอาเปรียบแรงงาน และ ต้องทุกข์ทนทรมานอย่างเงียบๆเพราะไม่กล้าไปร้องทุกข์ขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ๆเกี่ยวข้องของประเทศเจ้าภาพเพราะไม่ใช่ว่าไม่กล้า แต่เป็นเพราะว่าไม่สามารถสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษในเชิงต่อรองเพื่อพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของตัวเอง    และมีคนไทยอีกเป็นจำนวนไม่น้อยที่ทำงานกับคนต่างชาติ ไม่ว่าในองค์กรของรัฐและ เอกชน  ซึ่งรวมครูต่างชาติ ในโรงเรียนสองภาษาหรือนานาชาติ ที่ยอมรับว่าความสามารถในการสื่อสารกับคนต่างชาติยังบกพร่องอยู่ และหวังว่าสักวันหนึ่งความสามารถในการสื่อสารของตัวเองจะดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ แต่ไม่รู้จะหาวิธีใด
          เกิดอะไรขึ้นกับวิธีการสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนไทย     ทำไมเราคนไทยจึงไม่เก่งภาษาอังกฤษ ทั้งๆที่เรียนกันมานานนับสิบปี  เราสามารถเรียนรู้อะไรจากประสบการณ์ของประเทศอื่นได้บ้างเพื่อที่จะแก้ปัญหาอาการภาษาอังกฤษบกพร่องของคนไทย?

เป้าหมายของงานวิจัย มีดังนี้
1.แยกแยะอาการต่างๆของภาษาอังกฤษบกพร่องที่คนไทยประสบ และ หาสาเหตุและ วิธีป้องกัน
2.สำรวจวิธีการสอนคนให้รู้ภาษาอังกฤษ (literacy practice) ที่ใช้ในโรงเรียนไทยและวิเคราะห์ หาจุดอ่อนและจุดแข็ง และ เปรียบเทียบกับของต่างประเทศ
3.ทำการสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับของการสอนคนให้รู้ภาษาอังกฤษ (literacy research) โดยเฉพาะ ในสหรัฐฯ งานวิจัยที่เกี่ยวกับอาการภาษาบกพร่อง (dyslexia research)  งานวิจัยที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาของสมอง (brain-based research)หาบทสรุปเพื่อนำมาซึ่งคำตอบที่จะแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น
       ผู้วิจัยไม่ได้วางแผนให้งานวิจัยนี้เป็นแบบฝึกหัดเชิงทฤษฎีเท่านั้น แต่เป็นงานวิจัยที่นำมาซึ่งแผนปฎิบัติการที่ สามารถนำมาใช้ได้ทันที เพื่อที่จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นที่องค์กรของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องสามารถนำมาใช้เป็น นโยบายและ แผนปฎิบัติการในการแก้ไขปรับปรุงหลักสูตร และ การบำบัดด้วยการสอนเสริม (remedial intervention) เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว เพื่อคนไทยจะได้ไม่ด้อยกว่าคนต่างชาติในเวทีการแข่งขันนานาชาติเพราะภาษาอังกฤษบกพร่องเป็นเหตุ

วิธีการหาข้อมูล  ได้ใช้ 2 วิธีหลัก กล่าวคือในตอนเริ่มต้น  ใช้วิธีการสังเคราะห์(meta analysis)งานวิจัยทางด้านการสอนคนให้รู้ภาษาอังกฤษ (literacy research)  งานวิจัยเกี่ยวกับอาการภาษาบกพร่อง (dyslexia)  และ งานวิจัยด้านการเรียนรู้ภาษาของสมอง  (brain – based research/ neuro-science research) ขององค์กรชั้นนำในสหรัฐฯ  และ เพิ่มเติมด้วยการสัมภาษณ์ผ่านสไค้พ (skype) กับนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาอังกฤษของสหรัฐฯ เพื่อกลั่นกรองข้อมูล หาหลักฐานมาพิสูจน์ แก้ข้อสงสัยและสรุปประเด็นสำคัญต่างๆตลอดจนหาคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในวงการ       ในการค้นหาข้อมูลนี้ ผู้วิจัยได้นำประสบการณ์ในฐานะที่ได้เคยสอนภาษาอังกฤษให้คนไทยทุกระดับ จากอนุบาลถึงมหาวิทยาลัย  พร้อมกับความสามารถเฉพาะตัวพิเศษทางด้านงานวิจัยระดับนานาชาติ  ทำให้สามารถมองเห็นและเข้าใจปัญหานี้ได้อย่างลึกซึ้ง เพื่อนำมาทำบทสรุปในการหาคำตอบ ( ซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นคำตอบสุดท้าย) ในการแก้ปัญหาภาษาอังกฤษบกพร่องของคนไทยด้วยความเป็นกลาง (objectivity)

ผลงานวิจัยและข้อเสนอแนะเพื่ออภิปราย : ผลของงานวิจัยสามารถสรุปได้  ดังต่อไปนี้

1. งานวิจัยทางด้านการสอนคนให้รู้หนังสือ (literacy research) ของสหรัฐ ฯ เน้นการพัฒนาทักษะการอ่านมากกว่าการฟัง การพูด และการเขียน เพราะคนอเมริกันส่วนมากสามารถฟังและพูดภาษษอังกฤษได้แล้ว     แต่เขาอาจจะไม่สามารถอ่านและเขียนเก่ง    ฉะนั้น จึงเป็นสิ่งธรรมดาที่งานวิจัยจะเน้นการหาวิธีสอนให้คนโดยเฉพาะเด็กๆอ่านเก่ง  แต่สำหรับคนไทย   เรามีปัญหาทั้งพูดอ่านฟังและเขียนภาษาอังกฤษเชื่อมโยงกันไปหมด

2. รายงานวิจัยของคณะกรรมการการอ่านของสหรัฐฯ (National Reading Panel Report)  ได้ ทบทวนผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยและองค์กรการศึกษาต่างๆมากกว่าแสนเรื่องในสหรัฐฯที่ได้ทำกันมาในหลายสิบปีที่ผ่านมาที่เกี่ยวกับวิธีการสอนเด็กอเมริกันอ่านที่ได้ผล (effective reading instruction)และไม่ได้ผล    ได้พบหลักฐานมากมายที่สรุปอย่างหนักแน่นว่า การที่เด็กอเมริกันเป็นจำนวนมากอ่านไม่เป็นหรืออ่านไม่ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้   มาจากความบกพร่องของหู และ สมองทางด้านการประมวลเสียงของภาษาอังกฤษ  (phonological deficits) มากกว่าปัจจัยอื่น  ทำให้ไม่ได้ยินหน่วยเสียงภาษาอังกฤษ(phonemes)ที่เปล่งเป็นคำประสมอย่างรวดเร็วมาก ผลทำให้ไม่สามารถเชื่อมโยงหน่วยเสียงของบทพูดกับตัวอักษรหรือกลุ่มตัวอักษร ทำให้ฟังไม่รู้เรื่อง และ ในทางกลับกัน ถ้าไม่สามารถเชื่อมโยงตัวอักษรกับเสียงของมันได้ถูกต้อง ก็จะมีปัญหาในการอ่านออกเสียง      ผลทำให้เขาอ่านออกเสียงช้าหรืออ่านแบบตะกุกตะกักและผิดมากและ  สมองจะไม่สามรถรับรู้คำและความหมายของสิ่งที่อ่านได้ง่าย    รายงานสรุปว่า ถ้าจะแก้ปัญหาการอ่านที่บกพร่องนี้ผู้มีปัญหาต้องได้รับการสอนเสริมกระบวนการสอนอ่านที่มีองค์ประกอบ  5 อย่าง และที่สำคัญที่สุดก็ คือต้องทำตามขั้นตอนจาก ล่างไป บน (bottom-up) ตามตารางที่  3  องค์ประกอบ 5 อย่างมีดัง นี้

1. Phonemic awareness -  ความสามารถในการได้ยิน รับรู้ และ แยกแยะหน่วยเสียง(phonemes) ต่างๆของภาษาอังกฤษได้ ตลอดจนสามารถควบคุมการใช้ (manipulate) หน่วยเสียงของบทพูด (speech sounds)  ที่ประกอบเป็นพยางค์(syllables) และคำ(words)
2. Phonics - องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างตัวอักษรกับ เสียง ( letters-sound correspondence)
3. Fluency Instruction - กลยุทธ์การสอนอ่านให้คล่อง
4. Vocabulary - กลยุทธ์การสอนคำศัพท์
5. Comprehension strategies - กลยุทธ์การสอนความเข้าใจในบทอ่าน

3.  รายงานได้สรุปว่าฐานรากของการอ่านเก่งทั้งคล่องและชัด (foundation for reading success)  อยู่ที่ ขั้นตอนที่ 1 และ 2  คือการสอน Phonemic awareness (PA) และ Phonics  ซึ่งรวมกันจะเรียกเป็นภาษาไทยว่าหลักสูตรถอดรหัสเสียงภาษาอังกฤษ   นี่เป็นการสอนอ่านภาษาอังกฤษแบบโฟนิคส์ ที่เน้นกลยุทธ์จากล่างไปบนซึ่งต่างจากระบบการสอนอ่านเป็นคำ (wholeword method) หรือ การสอนอ่านแบบองค์รวม (whole language ) ที่เน้นการจำคำศัพท์ และความหมายที่มักใช้ในโรงเรียนไทย      ข้อแตกต่างของการสอนภาษาอังกฤษของทั้งสองวิธีการสอนอ่านนี้ได้ สรุปไว้ในตารางที่  3
             สรุปแล้ว การสอนอ่านเป็น คำ (whole word method)  สอนให้เด็กจำคำด้วยการดูตัวอักษร หรือ ดูรูปด้วยสายตา(sight reading) ที่แสดงความหมายของคำในหนังสือ  สอนให้ ข้ามคำ (skip)ที่ไม่รู้จัก และ ให้หาคำ อื่นมาแทนที่ (substitute) สอนให้รู้ จักทำนาย (guess) ความหมายของคำโดยดูจากบูรบทของประโยค (context clues)  อีกทั้งเน้นการอ่านที่หลากหลาย แต่ไม่เน้นการอ่านออกเสียงดังๆ (oral reading/reading aloud)  ผู้ที่เก่งภาษาอังกฤษในระบบนี้ เก่งเพราะความจำดีและ ครู หรือผู้บริหารโรงเรียนต่างไม่ได้รู้เลยว่า เด็กเหล่านี้ไม่เคยได้รับการสอนอ่านที่ถูกวิธี   (ตารางที่ 3 )

4. งานวิจัยทางด้านการเรียนรู้ภาษาของสมอง (brain research) ได้แสดงให้เห็นข้อแตกต่างในการทำงานของสมองในระหว่างการอ่านของผู้ที่อ่านเก่ง กับผู้ที่อ่านไม่เก่ง



ดร. เซลลี่ เชวิทซ์ (Sally Shaywitz) แห่ง มหาวิทยาลัยเยลอธิบายว่า “ ถ้าเด็กจะอ่านเป็น และอ่านเก่ง เขาต้องมีความสามารถในการแยกคำที่ได้ยินออกมาเป็นหน่วยเสียง (phonemes)  พี้นฐานได้ และ ตัวอักษรที่เห็นเป็นตัวพิมพ์แต่ละตัว เป็นตัวแทของเสียงแต่ละเสียง       ผู้ที่มีปัญหาในการอ่าน ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่จะไม่มีความรู้เรื่องนี้เลย    ภาพจากเครื่องสแกนสมอง fMRI  ที่ใช้คลื่นวิทยุและคลื่นแม่เหล็ก แสดงให้เห็นว่า ในการอ่านของผู้ที่มีปัญหาภาษาบกพร่อง   ส่วนหน้าของสมองที่ทำหน้าที่แยกแยอะหน่วยเสียงทำงานหนักหรือได้รับการกระตุ้นมากเกินไป ขณะที่ส่วนหลังอีกสองส่วนที่เชื่อมโยงหน่วยเสียงกับตัวอักษร ตลอดจน ส่วนที่รับรู้คำอย่างอัตโนมัติจะไม่ได้รับการกระตุ้นเลย   ภาพสแกนนี้ต่างจากภาพของ สมองของผู้ที่ไม่มีปัญหาในการอ่าน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสมองส่วนหลังทำงานตามปกติ


 5. งานวิจัยนี้ ได้นำร่องงานวิจัยทางด้านประสาทวิทยาอีกหลายสิบเรื่องในช่วงปี  2001-2008  ซึ่งเน้นเรื่องที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาของสมอง (neuroscience research) ซึ่งต่างยืนยันว่าไม่ว่า เด็กหรือผู้ใหญ่ที่มีปัญหาในการอ่าน (ออกเสียง) ไม่ว่าจะเป็นพูดหรืออ่านดังๆ    ถ้าได้รับการบำบัดด้วยการ สอนเสริมด้วยโปรแกรมการฝึกที่เกี่ยวกับเรื่องเสียง (sound training) เช่นหลักสูตรถอดรหัสเสียงภาษาอังกฤษ (PA & Phonics)  เส้นใยสมองจะได้รับการกระตุ้นและจะถูกจัดระเบียบใหม่ (rewiring) และจะสามารถ พูด หรือ อ่านเก่งอย่างชัดถ้อยชัดคำในระยะเวลาอันสั้น (ไม่เกิน 120  ชั่วโมงฝึก) ถ้าฝึกด้วยโปรแกรมPA & Phonics ที่มีคุณลักษณะที่เป็น explicit, systematic sequential direct instruction ซึ่งหมายความถึงโปรแกรมสอนที่เป็นระบบ มีบทเรียนที่เรียงลำดับตามขั้นตอนที่มาจากผลของงานวิจัย และต้องสอน การสอนออกมาเป็นสัดส่วน (explicit phonics)  โดยไม่สอนรวมกับการสอนที่ปนกับไวยากรณ์ หรือ ศัพท์ (implicit phonics) ข้อมูลนี้น่าจะให้ความหวังใหม่แก่ผู้ใหญ่คนไทยที่ต้องการพื้นฟูให้ตัวเองเก่งภาษาอังกฤษอีกครั้งหนึ่งในระยะเวลาอันสั้น

 6.  หลังจาก ที่ รัฐบาล สหรัฐฯได้ ประกาศ ใช้ พรบ. NCLB (No Child Left Behind Act) ในปี2001  ที่บังคับให้เด็กอเมริกันทุกคนจาก ระดับอนุบาล ถึงเกรด 3 ต้อง เรียน PA & Phonics เพื่อวางพื้นฐานในการอ่าน    ได้มีงานวิจัยมากมายที่ทำในระดับห้องเรียน (classroom research)  ที่ได้ยืนยันถึงความล้มเหลงของการสอนอ่านเป็นคำ เช่น งานวิจัยทางด้านการอ่านของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ที่ระบุว่าการสอนโฟนิคส์ที่เป็นระบบช่วยทำให้ผู้เรียนรับรู้คำ (word recognition)ได้ดีกว่า และสะกดคำ (spelling) ได้เก่งกว่าผู้เรียนที่ถูกสอนด้วยวิธีอ่านเป็นคำ (Marilyn Adams, 2002) และ งานวิจัยของมหาวิทยาลัยของรัฐซานดิเอโกได้แสดงให้เห็นว่า    ถ้าเอาห้องรียนสองห้องที่ผู้เรียนมีคุณสมบัติเหมือนกัน ห้องหนึ่งสอนอ่านด้วยระบบโฟนิคส์ อีกห้องหนึ่งยังคงสอนอ่านแบบ whole language ใน ตลอดปีการศึกษา    ผลปรากฎว่าห้องเรียนที่ใช้การสอนภาษาอังกฤษด้วยระบบโฟนิคส์จะมีผลสัมฤทธิ์ที่ ชนะห้องเรียนที่ สอนด้วยวิธีอ่านเป็นคำ ในทุกเรื่องที่เกี่ยวกับวิชาภาษาอังกฤษ (Groff, 2002 )
          โรงเรียนในเขตการศึกษาหนึ่งในรัฐ แคลิฟอร์เนียได้ทำวิจัยเชิงเปรียบเทียบในรอบ 2 ปี เพื่อศึกษาพัฒนาการของเด็กนักเรียนประถม 1 และ  2  ที่ถูกสอนด้วยระบบ โฟนิคส์ เปรียบเทียบกับนักเรียนที่ถูกสอนด้วยระบบอ่านเป็นคำ ผลปรากฎว่า เมื่อจบประถม 2 เด็กที่ได้รับการวางพิ้นฐานด้วยหลักสูตรโฟนิคส์ ได้ คะแนนสูงกว่าเด็กอีกกลุ่มหนี่งมากกว่า หนึ่งระดับชั้นเรียน     ในส่วนของเรื่องที่เกี่ยวกับการรับรู้คำ การอ่านเป็นย่อหน้า คำศัพท์ และ การอ่านออกเสียงทั้งคำเก่าและคำใหม่    เด็กที่เรียนโฟนิคส์จะได้คะแนนสูงกว่าเกือบ 4  ระดับชั้นเมื่อเปรียบเทียบกับเด็กที่ไม่ได้เรียนโฟนิคส์
            และหลังจากที่  ศาสตราจารย์ พิเศษ จีน ชอล (Jeanne Chall)  แห่งบัณฑิตวิทยาลัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ด ได้ทำการสังเคราะห์งานวิจัยมากมายที่ได้ทำมาในสหรัฐฯ ที่เกี่ยวกับวิธีการสอนอ่านเพื่อสรุปข้อถกเถียงของนักวิชาการของทั้งสองฝ่ายที่กลุ่มหนึ่งสนับสนุนการสอนอ่านแบบโฟนิคส์ ขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งยังคงนิยมแบบเดิม    ชอลได้เขียนสรุปด้วยความเป็นกลางในหนังสือ ชื่อ Uสู่การเป็นประเทศของนักอ่านU(Becoming the Nation of Readers)  ว่า “ เกี่ยวกับประสิทธิผลของการสอนโฟนิคส์ ในห้องเรียนนั้น  ผลปรากฎว่า โดยเฉลี่ยแล้วเด็กที่เรียนโฟนิคส์จะเริ่มต้นในการเรียนรู้ที่จะอ่านได้ดีกว่า (get off a better start in learning to read) เด็กที่ไม่มีพื้นความรู้ทางด้านนี้  ”  แม้กระทั่ง สถาบันสุขภาพแห่งชาติ  (National Institute  of Health) ได้รับการรายงาน จากงานวิจัยที่สถาบันเป็นเจ้าภาพสนับสนุน ณ โรงเรียนต่างๆในสหรัฐฯ ว่า อย่างน้อย ที่สุด  95% ของเด็กที่อ่านไม่เก่งเลย (poorest readers) สามารถเรียนรู้ที่จะอ่านให้ได้ ถึงมาตรฐานตามเกณฑ์ของระดับชั้นเรียนของตัวเอง  ถ้าได้ รับการสอนที่ถูกต้อง (proper instruction)  เกี่ยวกับความสัมพันธ์ ระหว่าง ตัวอักษรกับเสียง ซึ่งหมายความถึงองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับโฟนิคส์ นั่นเอง

7.   ส่วนประโยชน์ของการสอนโฟนิคส์ให้แก่ผู้ที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองนั้น ดร. ชวาร์ทซ์ (Dr. Schwartz)  แห่ง สถาบันการสอนให้ผู้ใหญ่อ่านออกเขียนได้แห่งชาติสหรัฐฯ (the National Adult Literacy Center) ที่กรุงวอชิงตัน ดี ซี ได้สรุปเกี่ยวกับประสบการณ์การสอนของตัวเองว่า “ผู้เรียนที่มีปัญหา ในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษมักมาจากการไม่รู้จักโครงสร้างของเสียงของภาษาอังกฤษ และทักษะที่เกี่ยวกับการจัดการหน่วยเสียงภาษาอังกฤษ  ฉะนั้นเมื่อได้มีการสอนเสริมด้วยหลักสูตรพีเอ และโฟนิคส์อย่างเข้มข้น  การสะกดคำของเขาเหล่านั้นจะดีขึ้นมาก      เขาสามารถจะรับรู้คำและประโยคได้อย่างชัดเจนมากขึ้นกว่าเก่า   ทำให้การเขียนตามคำบอก (dictation) ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และแม้กับตัวผู้เรียนเองก็รายงานว่าความสามารถ ของตัวเองในการเข้าใจบทสนทนา และ การบรรยายในห้องเรียนของวิชาอื่นดีขึ้นมาก และ ที่สำคัญที่สุด คือ ทักษะในการถอดรหัส (decoding skills)  จาก ตัวอักษรมาเป็นเสียง นั่นคือการอ่านดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด     และเขาเหล่านั้นก็ แปลกใจตัวเองที่ สามารถอ่านคำที่มีหลายพยางค์ ได้อย่างถูกต้องและง่ายดาย                โดยทั่วไปแล้ว ผลสัมฤทธิ์ ของผู้เรียนโดยรวมดี ขึ้น    เมื่อเปรียบเทียบกับผู้เรียนกลุ่มอื่นที่ไม่ได้เรียนเสริมหลักสูตรโฟนิคส์ที่เข้มข้น       นอกจากนี้ผู้เรียนเหล่านี้ยังมีความเชื่อมั่นในตัวเองในเรื่อง ต่างๆสูงขึ้น     ซึ่ง ครูคนอื่นต่างก็ได้สังเกตุเห็นความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเช่นกัน “  ดร. ชวาร์ทซ์ กล่าวสรุป

บทสรุป และ ข้อเสนอแนะ    (รายละเอียด และ ตาราง ดู ได้ ที่ www.cyber-smart.org )

                 จาก ข้อมูลที่ได้เสนอมาทั้งหมด    งานวิจัยนี้จึงขอสรุปว่า การที่จะแก้ปัญหาภาษาอังกฤษบกพร่องของคนไทยนั้น เราควรจะรวมวิธีการสอนแบบโฟนิคส์ และวิธีสอนอ่านเป็นคำเข้าด้วยกัน ดังได้ สรุปไว้ใน แผน ภูมิ หรือ ตาราง ที่  4  ที่ กล่าว ถึง 7  ขั้นตอนในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้เกิดความชำนาญและคล่องแคล่วที่รวมทุกทักษะคือฟัง พูด อ่าน และ เขียน เข้าด้วยกัน          ในการสอนภาษาอังกฤษด้วยกรอบของทฤษฎีใหม่นี้    วิธีที่สอนอ่านที่ได้ผลที่สุด จะ ต้อง ประกอบด้วย การปูพื้นฐาน 3  อย่าง คือ

1) การเทรนหูให้รู้จักหน่วยเสียงทุกเสียงของภาษาอังกฤษ (phonemic awareness)  อย่างถูกต้อง  เพื่อเตรียมพร้อมการเรียนโฟนิคส์ต่อไป

2) การฝึกโฟนิคส์ (phonics) ด้วยโปรแกรมฝึกที่มีประสิทธิผล ที่สร้างเส้นใยสมองให้เกิดการพัฒนาทักษะในการถอดรหัส ตัวอักษรเป็นเสียง (decoding)  อย่างอัตโนมัติ และ อย่างถาวร

3) การใช้วิธีการของการสอนอ่านเป็นคำ (whole word method) หรือ  whole language  โดยหลังจากที่ได้เรียนรู้เคล็ดลับในการถอดรหัสดังในข้อ 1 และ 2 และ ฝึกจนชำนาญแล้ว ควรนำความรู้มาใช้ในการฝึกภาคปฎิบัติจริง เช่นในการอ่านดังๆ บทอ่านต่างๆ ที่มีเนื้อหาที่ต่อเนื่องและหลากหลายไม่ว่าจะเป็น นิทาน สารคดี ข่าว บทความ ซึ่งระบบการสอนอ่านเป็นคำ มักนิยมใช้ ในยามปกติ  โดยให้มีการควบคุมการใช้คำศัพท์(controlled vocabulary) ให้เหมาะกับระดับชั้นเรียนของผู้เรียน  และถ้าผู้เรียนอ่านภาษาอังกฤษมากขึ้นเท่าใด โอกาสที่เขาจะเขียนเก่งก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น

         และ นี่ก็ เป็นทฤษฎีการสอนภาษาอังกฤษที่รวมการพัฒนาทุกทักษะแบบใหม่ ที่เน้นขั้นตอนจากล่างไปบนและไม่ได้ทิ้งทวนการสอนอ่านเป็นคำแต่ จะรวมทั้งสองวิธีสอนเข้าด้วยกัน โดยเน้นการสอน PA & Phonics เป็นพื้นฐานในการอ่านที่นำมาซึ่งความสำเร็จ (foundation for reading success )ซึ่งสองส่วนนี้เป็นส่วนที่ขาดหายไปในระบบ(missing link) การเรียนการสอนภาษาอังกฤษของคนไทย    เพราะหลักสูตรทั้งสองยังไม่ได้เป็นหลักสูตรภาคบังคับของกระทรวงศึกษาธิการไทยเหมือนในสหรัฐฯ อังกฤษ ออสเตรเลีย แคนาดา ฯลฯ ทำให้การสอนต้องทำในรูปแบบของการสอนแทรก หรือ เสริม (intervention) เพื่อซ่อมส่วนที่ขาดหายไปของระบบที่กำลังสอนในปัจจุบัน  ในสหรัฐฯ การสอนเสริมมักทำโดย คลินิคสอนอ่าน หรือ พูด (speech & reading clinic)  หรือ ศูนย์ที่สอนคนให้รู้ภาษาอังกฤษ ( Literacy Clinic or Center ) ทั้งใน และนอกสถานศึกษา
     

          ฉะนั้น ถ้าคุณมีภาวะภาษาอังกฤษบกพร่อง ลองหาโอกาสเรียนซ่อมและ เสริม ด้วยหลักสูตร PA & Phonics  ที่มีการสอนเชิงบูรณาการที่เปิดโอกาสให้คุณฝึกได้ด้วยตัวเอง (self-learning) ด้วยการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ อินเตอร์แร็คทีฟ มัลติมีเดีย อัจฉริยะ ซึ่งใช้ประสาทสัมผัสหลายด้าน (multi-sensory) เป็นสื่อในการฝึก และมีพี่เลี้ยง (reading coach)ผู้เชี่ยวชาญ ที่จะให้คำแนะนำตอนคุณอ่านออกเสียงบทอ่านหรือ คำ ถอดรหัส (docodable words or texts)  ตัวต่อตัว จนคุณถอดรหัสคล่อง คุณอาจจะแปลกใจที่คุณจะสามารถอ่าน “ทุกอย่างที่ขวางหน้าได้”มากกว่า 80-90% ของคำภาษาอังกฤษทั้งสารบบอย่างถูกต้อง และความสามารถทางด้านการพูดและ การฟัง ของคุณจะดีขึ้นมากอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ภายในระยะเวลาสั้น (ประมาณไม่เกิน 120  ชั่วโมง) และ คุณอาจจะคิดกลับไปเหมือนกับคนทุกคนที่ได้เรียนว่า คุณน่าจะได้เรียนหลักสูตรประเภทนี้ ก่อนที่จะเริ่มเรียนภาษาอังกฤษในวันแรกของชีวิตซะอีก เพราะถ้าคุณเก่งภาษาอังกฤษจริงๆ ชีวิตของคุณก็จะเปลี่ยนไป

เอกสารอ้างอิง
 1. The Research Building Blocks on how to teach children  to read, National Institute for Literacy (USA) (www.nifl.gov), National Institute of Child Health & Human Development) research sites (www.nih.gov/nichd)
2. ดร อินทิรา ศรีประสิทธิ์  การ ใช้ อินเตอร์เน็ทในการสอนโฟนิคส์ (Phonics) ประสมประสานกับการเรียนในห้อง จะช่วยให้เยาวชนไทยอ่านภาษาอังกฤษเก่ง  บทความ เสนอ ที่ งาน ประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 2 ด้านเทคโนโลยี่การสอนภาษาอังกฤษ (ICTTL 2007) ที่ โรงเรียนมหิดล วิทยานุสรณ์ วันที่ 9-10 ตุลาคม 2550 (www.cyber-smart.org)
3. ดร อินทิรา ศรีประสิทธิ์     เยาวชนไทยติดเกมส์เพราะอ่านหนังสือบนเว็ปไม่ออก  มติชน 25/02/51
4. ดร อินทิรา ศรีประสิทธิ์     สอนให้อ่านภาษาอังกฤษช่วยแก้ปัญหาติดเกมส์ออนไลน์ได้  มติชน 26/02/51
5. Sally Shaywitz, Imaging Study Reveals Brain Function of Poor Readers Can Improve, HUhttp://www.nih.gov/news/prUH and http://www.pbs.org/newshour/bb/science/jan-june98/dyslexia_3-11.html
6. Best references on Brain research and Phonics  เช่นเรื่อง Sounds Training Rewires Dyslexic Brains for Reading  by Dr. Nadine Gaab , http://www.sciencedaily.com/releases/2007/10/071030114055.htm
7.  Marilyn Adams, Building a Powerful Reading Program, from Research to Practice,  Institute for Education Reform (HUwww.csus.edu/ier/reading.htmlUH)
   8. Groff, Patrick, Blending Speech Sounds: a Neglected Phonics Skill, the National Right to Read Foundation,   Strasburg,VA, (HUwww.nrrf.orgUH ), 2002
9. Jeanne S. Chall,  Becoming the Nation of Readers, National Academy of Education's Commission on Reading, Harvard University, 1985 (http://www.readinghorizons.com/research/harvard.aspx)
10. Robin Schwarz, Using Phonemic Awareness to ESL students, the  National Adult Literacy Center, Washington D.C, 2003
11. Torgesen, J. K., Phonological Awareness: A Critical Factor in Dyslexia, Orton Dyslexia Society (1995)
12. Panel, R. o. t. N. R. (2000). Teaching Children to Read: An Evidence-Based Assessment of the Scientific Research Literature on Reading and its Implications for Reading Instruction. Bethesda, MD: National Institute of Child Health and Human Development, National Institutes of Health.
13. Best references on reading instruction can be found at  Jeanne Chall Reading Lab’s Literacy web links,  Harvard University
14. Best references on dyslexia can be found in HUwww.dyslexia-parent.com/research.htmlUH และ http://www.ldonline.org

ตารางที่  1   อาการของภาษาอังกฤษบกพร่องที่มักพบในคนไทยที่เรียนภาษาอังกฤษเป็น ภาษาที่สอง

• อ่านไม่ออก (wrong decoding - ถอดรหัสตัวอักษรให้เป็นเสียงไม่เป็น)
• ถ้าให้อ่าน จะอ่านช้า  (slow reading)
• อ่านแบบตะกุกตะกัก (choppy reading) หรือ อ่านไม่คล่อง (lack of reading fluency)
• อ่านออกเสียงไม่ชัด  (lack of reading accuracy)
• อ่านไม่มีความรู้สึก (inexpressive reading, reading without expression)
• เห็นคำใหม่อ่านไม่ออก (new words attack-poor)
• ไม่รู้จักคำที่ใช้บ่อยๆในภาษาอังกฤษ (sight word recognition -poor)
• แยกพยางค์ไม่เป็น (inability to segment words into syllables)
• พยายามอ่านโดยอาศัยความจำ   (struggling to read by relying on memories)
• จำศัพท์ไม่ค่อยได้ (poor vocabulary scores)
• ไม่อยากอ่านออกเสียงดังๆ เพราะ ไม่มั่นใจในการออกเสียง (avoid reading aloud)
• จำสิ่งอ่านไม่ค่อยได้ ลืมง่าย  (poor retention)
• มักเดาความหมายในสิ่งที่อ่าน (guessing at meanings)
• ไม่เข้าใจสิ่งที่อ่าน เพราะใช้ศาสตร์แห่งความจำ และ ความเดา(fail to comprehend reading texts)
• สะกดคำผิด  (misspelling)
• เขียนตามคำบอกผิด และ (wrong dictation/encoding-  ถอดรหัสเสียงให้เป็นตัวอักษร)
• ไม่กล้าพูดภาษาอังกฤษ  (fear of speaking English)
• ทั้งฟังไม่ค่อยรู้เรื่อง  (wrong encoding/oral language comprehension)
• มักหลีกเลี่ยงการพูดกับฝรั่ง (avoid speaking English)
• เขียนไม่เป็น (inability to write English well)
• เขียนไม่รู้เรื่อง (inability to get messages across in writing )
• อ่านภาษาอังกฤษไม่เป็น ไม่คล่อง ไม่อยากอ่าน เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ติดเกมส์ออนไลน์                      
(poor reading skills partly lead to computer games addiction)
• อ่านภาษาอังกฤษไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจ เป็นอุปสรรคในการหาข้อมูลเพื่องานวิจัย ผลทำให้ ไม่เกิดนวัตกรรม
หรือ break through ในวงการวิชาการ (poor reading skills partly leads to lack of
 innovation in research)
                         
   =  ไม่ชอบอ่าน และ ไม่ชอบ(เรียน) ภาษาอังกฤษ                               ผลสัมฤทธิ์วิชาภาษาอังกฤษต่ำ
 
ที่มาของ ข้อมูล  :  งานวิจัยทางด้านภาษาบกพร่อง  (dyslexia research) ของสหรัฐฯ
                    รวบรวมโดย ดร. อินทิรา  ศรีประสิทธิ์  (2009)

................................................................................

ตารางที่ 2    ข้อแตกต่างระหว่างการอ่านเป็น คำ และ การอ่านแบบโฟนิคศ์
                 กรุณาดูที่ www.cyber-smart.org
ตารางที่ 3     5 ขั้นตอนในการอ่านเก่ง

ตารางที่  4   7 ขั้นตอนที่จะทำให้คนไทยเก่งภาษาอังกฤษอย่างแท้จริงและถาวร



น่าเสียดาย ที่ คนไทยส่วนมากไม่ได้เรียนเคล็บไม่ลับในการถอดรหัส ทำให้ เรียนอังกฤษมานับสิบปี เราก็ยังไม่เก่ง จำศัพท์ ก็ไม่ค่อยได้ และ ลืมเร็ว  กว่าประเทศไทยจะนำหลักสูตรนี้ เข้าเป็นหลักสูตรภาคบังคับของกระทรวงก็ต้องรออีก อย่างน้อย 5  ปี

ให้เราทุกคนที่เห็นด้วยกับ ข้อมูลจากงานวิจัยนี้ สนับสนุนให้การปฎิรูปการศึกษาที่จะมาถึงอีก สิบปีข้างหน้าได้ใช้งานวิจัยนี้นำ ในการวางแผน เพื่อ เด็ก และ เยาวชนไทย จะได้ไม่ตกโลกไซเบอร์ ในการเรียนรู้ เพราะ อ่านภาษาอังกฤษบนเว็ปไม่ออก อีกต่อไป

หากต้องการทราบการอัพเดทของ บทสนทนาอังกฤษ ฝึกภาษาอังกฤษเอง 7 ขั้นตอนที่จะทำให้คนไทยเก่งภาษาอังกฤษอย่างถาวรและแท้จริง และเรื่องที่เกี่ยวข้อง แนะนำให้กด ที่ facebook ด้านล่างนี้เลยค่ะ เผื่อที่จะได้อัพเดทก่อนใคร

อัพเดทเมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ในหมวดหมู่ของ บทสนทนาอังกฤษ เรื่อง บทสนทนาอังกฤษ ฝึกภาษาอังกฤษเอง 7 ขั้นตอนที่จะทำให้คนไทยเก่งภาษาอังกฤษอย่างถาวรและแท้จริง