แผนธุรกิจ (Road Map)
กลยุทธ์การลงทุน 2 แนวทาง คือ ลงทุนด้านกระบวนการผลิต พัฒนาสินค้าใหม่ๆ ออกสู่ตลาดต่อเนื่อง และลงทุนสร้างแบรนด์สู่โกลบอลแบรนด์ ภายใต้ชื่อ “ซีพี” ในแผนการสร้างแบรนด์เพื่อก้าวสู่เป้าหมาย “ครัวโลก” ด้วยการทำกิจกรรมการตลาดผ่านผลิตภัณฑ์ของบริษัท โดยเฉพาะโปรดักท์แชมเปี้ยน 3 รายการ คือ เกี๊ยวกุ้ง ไส้กรอก และหมูดำ กูโรบูตะ
เริ่มจากการสร้างแบรนด์ เกี๊ยวกุ้งซีพีในรูปแบบการทำกิจกรรมการตลาดระดับนานาชาติ ซึ่งปีนี้ได้ทุ่มงบกว่า 200 ล้านบาท ผุดแคมเปญใหญ่ “เกี๊ยวกุ้งเกมส์ การแข่งขันกินเกี๊ยวกุ้งนานาชาติ ครั้งที่ 2” (CP Biggest Eater Competition 2011-2012) หรือกินทั่วโลก ที่วางรูปแบบการแข่งขันระดับประเทศจาก 4 เมืองใหญ่ในภูมิภาคเอเชีย คือ สิงคโปร์ เมลเบิร์น (ออสเตรเลีย) ฮ่องกง และรอบชิงชนะเลิศในกรุงเทพฯ เมื่อกลางเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา ซึ่งประสบความสำเร็จไม่แพ้ครั้งที่ 1 สามารถทำยอดขายในกลุ่มสินค้าเกี๊ยวกุ้งช่วงไตรมาสแรกเติบโต 60%
ส่วนไส้กรอก และหมูดำ กูโรบูตะ ก็ได้เตรียมวางกลยุทธ์และกิจกรรมการสร้างแบรนด์ในรูปแบบใกล้เคียงกัน ภายใต้งบประมาณการสร้างแบรนด์กว่า 200 ล้านบาท พร้อมสนับสนุนการตลาด โดยพัฒนาสินค้าใหม่ในกลุ่มเกี๊ยว ต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายคนรุ่นใหม่เป็นหลัก รวมถึงเพิ่มไลน์สินค้าในกลุ่มสแน็ก เช่น เบอร์เกอร์ แซนด์วิช เพื่อขยายตลาดและธุรกิจในประเทศให้ครอบคลุมมากที่สุด
“การเติบโตของตลาดผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปแช่แข็งพร้อมรับประทานเกิดจากพฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภคคนไทยและคนทั่วโลกเปลี่ยนแปลง โดยหันมารับประทานอาหารสำเร็จรูปแช่แข็งพร้อมรับประทานมากขึ้น”
นายสุพัฒน์กล่าวว่า สำหรับการดำเนินธุรกิจในปี 54 ที่ผ่านมา บริษัทได้มีการขยายธุรกิจอาหารในเครือฯอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของกลุ่มสินค้าพร้อมปรุงภายใต้แบรนด์ซีพี, ซีพีเฟรชมาร์ท, ไก่ย่างห้าดาว, เชสเตอร์กริลล์ หรือบีเคพี ส่งผลให้ภาพรวมธุรกิจปีที่ผ่านมาเติบโต 15-20% และหลังลุยขยายธุรกิจในเครือฯ ต่อเนื่องภายใต้งบลงทุนกว่า 180-200 ล้านบาท ในการสร้างแบรนด์สินค้าให้เป็นที่รู้จักผ่านทุกช่องทางจำหน่ายทั้งห้างค้าปลีก ฟู้ดเซ็นเตอร์ และตลาดสด ในปี 55 นี้คาดว่าจะส่งผลให้สิ้นปี 55 มีรายได้รวมเติบโตไม่ต่ำกว่า 20% แน่นอน “ปีนี้สินค้าที่บริษัทจะให้ความสำคัญกับการสร้างแบรนด์มากขึ้นยังคงเป็นไก่แปรรูป หมูแปรรูป และอาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง”
แคมเปญนี้ช่วยตอกย้ำสโลแกนของซีพีแบรนด์ ที่ว่า “ซีพีเติมชีวิตที่ดี” ให้ชัดเจนขึ้นด้วย แต่เหตุผลที่ซีพีเอฟลุยจัดแข่ง “กินเกี๊ยวกุ้งนานาชาติ” เพราะเกี๊ยวกุ้งเป็นสินค้าฮอตฮิตที่ขายดิบขายดีในตลาดโลก จากข้อมูลทางการตลาดชี้ว่าซีพีเอฟครองแชมป์ อันดับหนึ่งในการเป็นผู้ส่งออกกุ้งสู่ประเทศต่างๆกว่า 35 ประเทศทั่วโลก โดยตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น และประเทศในเอเชีย ขณะที่สหรัฐอเมริกา เกี๊ยวกุ้งซีพีเป็นสินค้าขายดีที่สุด ขึ้นแท่นเป็นสินค้า “แชมเปี้ยน” เลยทีเดียว
การบุกตลาดต่างประเทศของค่ายซีพีได้มีการดำเนินการมาต่อเนื่องหลายปีแล้ว และซีพีเอฟก็ทุ่มงบไม่น้อยเพื่อสร้างแบรนด์ให้เกิดขึ้น ด้วยวิสัยทัศน์ในการสร้างแบรนด์ซีพีเป็น “ครัวของโลก” หรือ “Kitchen of the World” และทำให้ซีพีเป็นแบรนด์ top of mind คือ อยู่ในใจผู้บริโภคเป็นอันดับแรก ซึ่งซีพีเอฟเชื่อว่าการก้าวไปเป็นครัวโลกได้ต้องมุ่งไปที่สินค้าสำเร็จรูปและการสร้างแบรนด์ และอาหารสำเร็จรูปติดแบรนด์ คือกลยุทธ์หลัก ในการบุกตลาด “เราจะเพิ่มช่องทางขยายตลาดให้ครอบคลุมทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันทั้ง CP Fresh Mart, CP Food Market, MT และจุดขายอื่นๆ มีเปิดกระจายอยู่ทั่วโลกรวมกว่า 10,000 จุดแล้ว”.
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ ยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจตามหลักการของการกำกับดูแลกิจการที่ดี อันจะนำมาซึ่งการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม การบริหารงานในนโยบายการกำกับและดูแลกิจการที่ดี ที่จะคำนึงถึงประโยชน์ของบริษัทที่มีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน
“คำนึงถึงสิทธิมนุษยชน”
สิทธิพนักงาน : พนักงานของบริษัทถือเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง และเป็นหัวใจสำคัญที่เกื้อกูลให้การดำเนินธุรกิจประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย จึงให้สิทธิพื้นฐาน ดังนี้
- สวัสดิการเป็นธรรม ค่าจ้างเหมาะสมเทียบเคียงบริษัทชั้นนำ ประเมินผลงานเพื่อให้คุณภาพชีวิตที่ดีแก่พนักงาน
- พัฒนาเสริมสร้างความรู้ความสามารถของพนักงานอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ จัดโครงสร้างตำแหน่งงานให้มีเส้นทางความก้าวหน้าในหน้าที่การงานที่ชัดเจน
- สิทธิด้านต่างๆ เกี่ยวกับการจ้างงานที่เป็นธรรม อาทิ การอนุญาตให้ลางาน การโอนย้าย และจัดให้มีช่องทางการสื่อสารระหว่างพนักงานกับผู้บริหารระดับสูง เพื่อให้เข้าใจถึงปัญหาและรับฟังความคิดเห็นต่างๆ จากพนักงานโดยตรง
- สวัสดิการที่ตอบสนองความต้องการของพนักงาน อาทิ ค่ารักษาพยาบาลพนักงานและครอบครัว การประกันชีวิตและประกันสุขภาพพนักงาน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โครงการสะสมหุ้นสำหรับพนักงาน (Employee Joint Investment Program - EJIP) การให้ทุนการศึกษาแก่พนักงาน และบุตรพนักงาน สวัสดิการยืมเงินกรณีผู้ป่วยใน โครงการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย เป็นต้น และให้ความ สำคัญในการดูแลความปลอดภัยพนักงาน โดยจัดให้มีการซ้อมหนีไฟ จัดให้มีระบบป้องกันภัย กิจกรรมงานความปลอดภัย
- สิทธิผู้บริโภค : บริษัทรับผิดชอบต่อความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย โดยบริษัทได้ยกระดับมาตรฐานคุณภาพของสินค้า นับตั้งแต่การคัดเลือกผลิตภัณฑ์จนถึงการจัดส่งให้กับผู้บริโภค เพื่อมั่นใจว่าลูกค้าได้บริโภคสินค้าที่ความสะอาด ปลอดภัยและมีคุณภาพ
- บริษัทดำเนินธุรกิจร้านค้าสะดวกซื้อในประเทศไทย “ภายใต้” กฎหมายและนโยบายภาครัฐ
- อาทิ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ร.บ. ควบคุมราคา พ.ร.บ. อาหารและยา รวมถึงข้อกำหนดต่างๆ ของเทศบัญญัติ พ.ร.บ. ค้าปลีก
- ทบทวนระบบเพื่อ “ขานรับ” พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 ดังนี้
- การรับประกันคุณภาพของสินค้า (Quality Assurance)
- ยกระดับมาตรฐานการด้านคุณภาพสินค้าทุกกลุ่ม เน้นการคัดเลือกและตรวจสอบทั้งคุณภาพของวัตถุดิบจากผู้ส่งและกระบวนการระหว่างการผลิต
- ร่วมมือกับผู้ผลิตและผู้จัดส่งสินค้า ทำการตรวจสอบคุณภาพสินค้าสำเร็จรูปก่อนจำหน่ายให้กับลูกค้ากำหนดให้มี Product Liability Committee ประกอบไปด้วย หน่วยงานด้านจัดซื้อ และกระจายสินค้า บริหารผลิตภัณฑ์ ประกันคุณภาพสินค้า กฎหมาย และหน่วยงานด้านปฏิบัติการเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบลูกค้าอย่างใกล้ชิด
- จัดให้มีหน่วยงาน Customer Care ซึ่งลูกค้าสามารถติดต่อได้ที่ร้านหรือโทรหา Call Center ซึ่งเปิดทำการ 24 ชั่วโมง เพื่อการให้ความช่วยเหลือ ดูแล แก้ไขปัญหาของลูกค้าอย่างเป็นระบบและทันท่วงที
- สิทธิเท่าเทียมของผู้ถือหุ้น : กำหนดนโยบายการกำกับดูแลกิจการอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรมาตั้งแต่ปี 2547 โดยมีเนื้อหาที่ครอบคลุมถึงสิทธิของผู้ถือหุ้น การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ นอกจากนี้ยังได้จัดทำคู่มือจริยธรรมธุรกิจและข้อพึงปฏิบัติในการทำงานเพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับของบริษัท ยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างมีคุณภาพและคุณธรรม
HISTORY แผนธุรกิจ (Road Map) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ ตั้งแต่ปี 2521-2555
การวางแผนทางเทคโนโลยีโรงเรือนปิดปรับอากาศอันทันสมัย
ฟาร์มพันธุ์สัตว์ของซีพีเอฟเป็นระบบโรงเรือนปิดปรับอากาศ ซึ่งใช้เทคนิคการเลี้ยงและการบริหารจัดการที่ทันสมัย มีระบบควบคุมและป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพ
การวางแผนทางเทคโนโลยีระบบควบคุมการผลิตด้วยคอมพิวเตอร์
ซีพีเอฟ เป็นผู้ริเริ่มการเลี้ยงสัตว์แบบโรงเรือนปิด และควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ในประเทศไทย ระบบจะทำการตรวจสอบและควบคุมทุกขั้นตอนการผลิต และการตรวจสอบย้อนกลับวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตอาหารสัตว์ เช่น ข้าวโพด กากถั่วเหลือง ปลายข้าว เป็นต้น มีการควบคุมสูตรอาหารและการผลิตทุกขั้นตอนด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้อาหารสัตว์ที่มีคุณภาพสม่ำเสมอตามมาตรฐานที่กำหนด และมีการใช้ระบบสุ่มตรวจ เพื่อตรวจสอบมาตรฐานคุณภาพของวัตถุดิบและสินค้า ซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นใจต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์
การวางแผนทางเทคโนโลยีระบบการจัดเก็บวัตถุดิบที่ได้ผล
ซีพีเอฟมีสถานที่จัดเก็บวัตถุดิบขนาดใหญ่ด้วยระบบที่มีประสิทธิภาพ เพื่อจัดเก็บวัตถุดิบให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ เมื่อมีการคาดการณ์ว่า ราคาวัตถุดิบจะปรับตัวสูงขึ้นในอนาคต การดำเนินการเช่นนี้ช่วยให้บริษัทสามารถบริหารต้นทุนได้อย่างไม่มีความผันผวนมากนัก
การวางแผนทางเทคโนโลยีระบบฟาร์มปิดปรับอากาศสำหรับการเลี้ยงสัตว์บก
การใช้ระบบปิดปรับอากาศ (Evaporative Cooling System) ในการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งนับได้ว่าเป็นระบบการเลี้ยงสัตว์ ที่มีสุขลักษณะที่ดี เป็นระบบที่ทำให้มีอากาศเย็นสบาย การใช้แกลบรองพื้นโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ ซึ่งช่วยในการกำจัดกลิ่น มีการให้อาหารและน้ำแบบอัตโนมัติ มีระบบตรวจสอบและควบคุมดูแล รวมจนถึงการกำจัดมลพิษต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น จากการเลี้ยง
การวางแผนทางเทคโนโลยีระบบโปรแกรมเลี้ยงกุ้งแบบเทคโนโลยีชีวภาพ
(Probiotic Farming) เป็นระบบการเลี้ยงที่จะทำให้ได้ผลิตภัณฑ์กุ้งปลอดสารและมีคุณภาพ ตามมาตรฐานสุขอนามัย โดยระบบการเลี้ยงดังกล่าวจะใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และไม่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อทดแทนการใช้สารเคมี ด้วยการใช้แบคทีเรียที่ดี (SuperBiotic) ไปควบคุมแบคทีเรียที่ไม่ดี อันเป็นต้นเหตุของโรคต่างๆ ในกุ้งและป้องกัน ไวรัสในกุ้ง ซึ่งเป็นเชื้อโรคร้ายอีกประเภท ประกอบกับการใช้ระบบการจัดการบ่อที่มีประสิทธิภาพจะทำให้กุ้งที่เลี้ยง แข็งแรง มีอัตราการรอดสูง และสามารถสร้างภูมิต้านทานมาป้องกันตัวเองจากโรคได้ จึงช่วยลดต้นทุนการผลิต ในขณะที่ผลผลิตจะมีเพิ่มสูงขึ้นกว่าการใช้สารเคมีในการเลี้ยง
หากต้องการทราบการอัพเดทของ การบ้าน Road Map ของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์ พร้อมการพยากรณ์และการวางแผนทางเทคโนโลยี และเรื่องที่เกี่ยวข้อง แนะนำให้กด ที่ facebook ด้านล่างนี้เลยค่ะ เผื่อที่จะได้อัพเดทก่อนใคร
อัพเดทเมื่อ วันเสาร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ในหมวดหมู่ของ การบ้าน เรื่อง การบ้าน Road Map ของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์ พร้อมการพยากรณ์และการวางแผนทางเทคโนโลยี