ยุทธศาสตร์ของบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ “เราจะเพิ่มช่องทางขยายตลาดให้ครอบคลุมทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันทั้ง CP Fresh Mart, CP Food Market, MT และจุดขายอื่นๆ มีเปิดกระจายอยู่ทั่วโลกรวมกว่า 10,000 จุดแล้ว” ซีพีเอฟทุ่มงบไม่น้อยเพื่อสร้างแบรนด์ให้เกิดขึ้น ด้วยวิสัยทัศน์ในการสร้างแบรนด์ซีพีเป็น “ครัวของโลก” หรือ “Kitchen of the World” และทำให้ซีพีเป็นแบรนด์ top of mind คือ อยู่ในใจผู้บริโภคเป็นอันดับแรก ซึ่งซีพีเอฟเชื่อว่าการก้าวไปเป็นครัวโลกได้ต้องมุ่งไปที่สินค้าสำเร็จรูปและการสร้างแบรนด์ และอาหารสำเร็จรูปติดแบรนด์
ยุทธศาสตร์ระบบมาตรฐาน เพื่อเพิ่มจำนวนฟาร์มมาตรฐานจีเอพี ที่ได้รับการรับรองให้มากขึ้น ภายใต้โครงการฟาร์มมาตรฐานระบบกลุ่มครอบคลุมสินค้าพืช ปศุสัตว์และประมง
ยุทธศาสตร์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์และตลาดสินค้าคุณภาพ มุ่งแก้ไขปัญหาคุณภาพ มาตรฐาน การแปรรูป ตลอดจนรับรองด้านตลาดหรือแหล่งจำหน่ายสินค้าที่ผ่านการรับรองมาตรฐานหรือสินค้า Q เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตและขยายช่องทางจำหน่ายสินค้า
ยุทธศาสตร์สร้างความมั่นใจในมาตรฐานสินค้าเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารของ เจริญโภคภัณฑ์อาหาร มุ่งพัฒนาระบบการผลิตและการควบคุมคุณภาพมาตรฐาน และระบบการตามสอบหรือระบบตรวจสอบย้อนกลับอย่างแพร่หลายมากขึ้นเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศ
ยุทธศาสตร์มาตรฐานความปลอดภัยสินค้าเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารของ เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการสร้างความมั่นคงด้านอาหารทั้งการมีอาหารอย่างเพียงพอและมีมาตรฐานความปลอดภัย อันนำไปสู่การสร้างความเชื่อมั่นและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับสินค้า พร้อมเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก และเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยผลักดันส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารของบริษัทเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต.
ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการกำหนดแผนและการดำเนินยุทธศาสตร์การตลาดของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้แก่
- ข้อมูลที่ทันเหตุการณ์ และวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล
- บุคลากรที่คิดเป็น มีคุณภาพด้านการปฏิบัติและการแก้ปัญหา
- ระบบการบริหารจัดการ
ขั้นตอนของการกำหนดกลยุทธ์ยุทธศาสตร์การตลาดเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการวางแผน ในที่นี้ เป็นการวิเคราะห์ประเทศไทย โดยใช้เครื่องมือ SWOT ภายใต้หลักคิดที่ CP ยึดถือ
หลักคิด
- ใช้ยุทธศาสตร์ในการทำสงครามของ “ซุนวู” จากเรื่อง “สามก๊ก” ได้แก่ “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง”
- ใช้แนวทาง “เถ้าแก่น้อย”
การวิเคราะห์ SWOT ของประเทศไทย
1. จุดแข็ง
ด้านสังคม
- ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ดินฟ้า อากาศ สภาพแวดล้อมเหมาะแก่การทำการเกษตร
- กสิกรรมอยู่ในสายเลือดของคนไทย นิสัยคนไทยเป็นชาวพุทธรู้จักให้อภัย มีหลักยึดมั่นในสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นที่รวมศูนย์จิตใจคนไทย
- ด้านเศรษฐกิจ
- ที่ตั้งของประเทศไทย ใกล้ตลาดสำคัญของโลก ได้แก่ จีน อินเดีย ฯลฯ มีทางออกสู่ตลาดโลกในภูมิภาคต่าง ๆ
2. จุดอ่อน
ปัญหาด้านการผลิต
- ขาดวิชาการและเทคโนโลยีในประเด็นของความครบถ้วนทั้งวงจร เช่นเปลี่ยนเกษตรกรรมในเชิงเกษตรผสมผสานไปสู่พืชเชิงเดี่ยว โดยขาดความเข้าใจถึงผลเสียของพืชเชิงเดี่ยวที่มีผลต่อระบบนิเวศน์ และพื้นฐานการดำรงชีวิต และทำให้เกิดหนี้สินตามมามากมาย เนื่องจากผู้ส่งเสริมที่ทำหน้าที่เป็น ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) ไม่เข้าใจวิธีคิดในเชิงธุรกิจ ซึ่งต้องมองภาพรวมทั้งกระบวนการ
- เพิ่มผลผลิตโดยวิธีขยายพื้นที่ ไม่ได้เน้นการสร้างรายได้ต่อหน่วยพื้นที่
- ความไม่แน่นอนของธรรมชาติ ป่าถูกทำลาย ฝนตกไม่ตรงตามฤดูกาล
- เกษตรกรไทย “ยิ่งทำยิ่งจน” กลายเป็นผู้ด้อยโอกาส ในประชากรทั้งหมดของประเทศขณะนี้เหลือภาคเกษตรเพียง 49% ของประชากรไทย ซึ่งมีเพียง 7% ของภาคเกษตรเท่านั้นที่แข่งขันได้ และอีก 20% ของภาคเกษตรเป็นผู้ด้อยโอกาส
- ปัญหาด้านการตลาด (ภายในประเทศ)
- อำนาจต่อรองน้อย ขึ้นกับนายทุน
- ช่องทางจำหน่ายมีน้อย ขึ้นกับพ่อค้าคนกลาง
- ข้อมูลข่าวสารน้อย ไม่ทันเหตุการณ์ ในกรณีนี้รัฐควรเป็นผู้สนับสนุนข้อมูลที่วิเคราะห์ / สังเคราะห์ แล้วให้กับเกษตรกรนำไปใช้ประโยชน์ให้ทันเหตุการณ์ และฝึกให้เกษตรกรคิดเป็น วิเคราะห์เป็น เข้าใจวิธีการวางแผนการผลิตให้สอดคล้องตลาด
- ปัญหาด้านยุทธศาสตร์
- สินค้าเกษตรถูกกดราคาเพื่อให้ค่าครองชีพของคนเมืองต่ำลง เช่น “ไข่” กลายเป็นสินค้าการเมือง ถ้ารัฐบาลใดปล่อยให้ไข่ราคาสูง จะกลายเป็นตัวชี้วัดความล้มเหลวของรัฐบาล
- ข้อมูลการตลาดไม่ชัดเจน และล่าช้า
- ขาดการสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแบบครบวงจรตั้งแต่การผลิต – แปรรูป ไปจนถึงการจำหน่าย
- การพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร
3. อุปสรรค
อุปสรรคด้านตลาดโลก
- ผลกระทบจากการปฏิวัติเขียว ทำให้หลายประเทศในโลกมุ่งเน้นการรักษา Food Security ของตน และไม่เปิดให้สินค้าเกษตรบางอย่างเข้าประเทศ
- สิทธิกีดกันทางการค้า องค์กรต่างๆ เช่น WTO มีระเบียบข้อบังคับมากมายที่มีผลต่อผลผลิตสินค้าเกษตรของไทย
4. โอกาส
สภาพแวดล้อมภายนอกประเทศที่ส่งผลต่อประเทศไทยในด้านการผลิตและการตลาด สินค้าเกษตรในทางบวก ได้แก่สถานการณ์สากลที่เกื้อหนุน เช่น สภาวะสงคราม ความแห้งแล้ง หรือภูมิประเทศที่จำกัดทำให้เกิดความต้องการสินค้าประเภทอาหาร กระแสสังคมด้านการรักษาสุขภาพ ทำให้เน้นความปลอดภัยของสินค้าอาหารและบริโภค
จากผลการวิเคราะห์ สามารถสรุปผล สังเคราะห์ออกมาเป็นแนวทางการพัฒนาการเกษตรของไทย ซึ่ง CP ได้สรุปไว้และใช้เป็นแนวทางของบริษัทในการดำเนินงานด้านการตลาด
หากต้องการทราบการอัพเดทของ การบ้าน ยุทธศาสตร์ของบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ และเรื่องที่เกี่ยวข้อง แนะนำให้กด ที่ facebook ด้านล่างนี้เลยค่ะ เผื่อที่จะได้อัพเดทก่อนใคร
อัพเดทเมื่อ วันเสาร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ในหมวดหมู่ของ การบ้าน เรื่อง การบ้าน ยุทธศาสตร์ของบริษัทเจริญโภคภัณฑ์